ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวโน้มวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Show simple item record

dc.contributor.advisor อัญชลี โพธิ์ทอง en_US
dc.contributor.author กัญญาภรณ์, นุชวงษ์
dc.date.accessioned 2017-09-15T03:39:06Z
dc.date.available 2017-09-15T03:39:06Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1384
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการบริหารการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนประโคนชัยวิทยา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อเปรียบเทียบกระบวนการการบริหารการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนประโคนชัยวิทยา กับเกณฑ์มาตรฐานที่ 18 ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารจำนวน3คน คูผู้สอนวิทยาศาสตร์ จำนวน16คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5คนและผู้ปรกครองจำนวน 18คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบสอบถามสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาเอง เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างและแบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กระบวนการบริหารการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษานั้นผู้บริหารเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากในการที่จะบิหารจัดการ ให้การเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จตามหลักสูตร คือต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความสามารถ ในเรื่องการบริหารการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาครูผู้สอนให้จัดกิจกรรมต่างๆได้โดยใช้วิธีสอนที่หลากหลายสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชน ตลอดจนใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า ผลจากการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อกระบวนการการบริหารการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประโคนชัยวิทยา กับเกณฑ์มาตรฐานที่18 ของสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษา สรุปได้ดังนี้ การบริหารของโรงเรียนที่อยู่ในระดับ “พอใช้” ที่ควรได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ดังนี้ 1. การจัดกิจกรรมมีความหลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติและความต้องการของนักเรียน 2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการ คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์คิดริเริ่มสร้างสรรค์คิดแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ 3. การประเมินพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลายและต่อเนื่องการบริหารของโรงเรียนอยู่ในระดับ “ดี”มีดังนี้ 1.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้ แสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 2.การนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและสื่อที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ใน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3.การจัดกิจกรรมเพื่อฝึกฝนและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียน 4 .การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้พัฒนาสุนทรียภาพอย่างครบถ้วนทั้งด้านานดนตรีศิลปะและการกีฬา 5.การส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย การทำงานร่วมกับผู้อื่น 6.การจัดกิจกรรมที่ส่งเริมผู้เรียน ให้รักสถานศึกษาของตนและมีความกระตือรือล้นในการเรียน
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject แนวโน้มวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง en_US
dc.title แนวโน้มวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง en_US
dc.title.alternative Trends of organizational culture in primary schools under the jurisdiction of the basic education commission in the lower northeastern region en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics