ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรั๕มย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุมพล วิเชียรศิลป์ en_US
dc.contributor.advisor ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์ en_US
dc.contributor.author กุหลาบ, จันทคณานุรักษ์
dc.date.accessioned 2017-09-13T08:19:40Z
dc.date.available 2017-09-13T08:19:40Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1286
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็น รวมทั้งศึกษาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของครู ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม ในกรณีครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใช้ประชากรซึ่งมีจำนวน 10 คน และ 15 คน ตามลำดับ ส่วนผู้ปกครองจำนวน 155 คน ได้จากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดโควต้าจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในกรณีแบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 2.195 - 11.180 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเป็น .9267 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนการใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์ด้วยวิธีอุปมาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ร่วมกำหนดกลยุทธ์การปฎิบัติงานในการจัดการศึกษา 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการวางแผน การปฎิบัติ และการดำเนินการที่เหมาะสม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการตรวจสอบไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้ โรงเรียนต้องให้ความรุ้ความเข้าใจโดยการจัดอบรมให้กับชุมชนในเรื่อง การวางแผน การปฎิบัติ การตรวจสอบและการดำเนินการที่เหมาะสม สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจัดทำโครงการประสานความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนทุกครั้ง ส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการร่วมสรุปผลงานของโรงเรียน เปิดโอกาสให้ครูคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองร่วมสรุปผลงานของโรงเรียน นำผลการสรุปผลงานของโรงเรียนไปปรับปรุง และพัฒนางานให้ดีมากขึ้น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรั๕มย์ en_US
dc.title.alternative The Community Participations in Educational Management : a Case Study of Ban Hinlad School, Bankruad District, Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics