ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาความสามารถในการพึ่งตนเองของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุริยา รักการศิลป์ en_US
dc.contributor.advisor ปรีชา ปาโนรัมย์ en_US
dc.contributor.author กมลนิตย์, ปีย์เจริญธนกุล
dc.date.accessioned 2017-09-13T08:00:49Z
dc.date.available 2017-09-13T08:00:49Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1277
dc.description.abstract งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบททั่วไปของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการพึงตนเอง ของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการพึงตนเองของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากประชากรทั้งหมด 2,830 คน และได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีจำนวน 3 ตอน คือ ข้อมูลเกี่ยวกับ สภาพพื้นฐานลักษณะส่วนบุคคลความสามารถในการพึ่งตนเอง และของเสนอแนะอื่นๆ โดยเป็นแบบมาตรฐานส่วนประมาณค่าและแบบปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย แลละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งมีการทดสอบค่าสมมติฐานโดย t-test และ F-test เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟ กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า บริบททั่วไปด้านความสามารถในการพึ่งตนเองของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี เกษตรมีการออมเงินกับกองทุนหมู่บ้าน มีการทำประกันชีวิตให้ตนเองและครอบครัว ผลผลิตในการทำไร่อ้อยเฉลี่ย 11-12 ตันไร่ การจำหน่ายอ้อยเฉลี่ยของครัวเรือง 100,001-300,000 บาท/ปี เกษตรกรมีปัญหาด้านต้นทุนการผลิตราคาสูง ความสามารถในการพึ่งตนเองของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการพึงตนเองของเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความสามารถในการพึงตนเองของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ด้านจิตใจอยู่ในระดับมาก ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ เปรียบเทียบความสามารถในการพึ่งตนเองของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ความสามารถในการพึงตนเองของเกษตรกรชาวไร่อ้อย จำแนกตามเพศโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการพึ่งตนเองของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ความสามารถในการพึ่งตนเองของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ด้านสังคมโดยรวมจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6 หรือ ปวช. กับ ระดับการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษาหรือ ป.6 และสูงกว่าปริญญาตรี กับ ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6 หรือ ปวช. แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคู่อื่นๆ ไม่แตกต่างกัน อาจเป็นเพราะระดับการศึกษาที่สูงกว่ามีความสามารถในการพึ่งตนเองด้านสังคมสูงกว่าระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าและระดับการศึกษาที่สูงกว่าอาจมีสังคมมากกว่าระดับการศึกษาที่ต่ำกว่า จึงส่งผลให้ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อความสามารถในการพึ่งตนเองด้านสังคมที่แตกต่างกัน
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การศึกษาความสามารถในการพึ่งตนเองของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การศึกษาความสามารถในการพึ่งตนเองของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในเขตอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative A STUDY OF SELF-RELIANCE ABILITY OF THE SUGARCANE FARMERS IN SATUEK DISTRICT, BUBIRAM PROVINCE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหาร
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics