ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนเมืองบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จรัส สว่างทัพ en_US
dc.contributor.advisor อนันต์ ลิขิตประเสริฐ en_US
dc.contributor.advisor สุริยา รักการศิลป์ en_US
dc.contributor.author กนกกันต์, จรูญรักษ์
dc.date.accessioned 2017-09-13T07:15:13Z
dc.date.available 2017-09-13T07:15:13Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1256
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนเมืองบุรีรัมย์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนเมืองบุรีรัมย์ จำแนกตามระดับความเข้มแข้งของกลุ่ม และเพื่อศึกษาปัจจัยที่แสดงถึงระดับความเข้มแข็งของเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนเมือง ประชากรได้แก่เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนเมืองบุรีรัมย์ จำนวน 17 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์ที่ผ่านการวัดระดับด้วยเกณฑ์การวัดระดับความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน ทั้ง 3 ระดับ เลือกกลุ่มออมทรัพย์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเลือกจากระดับความเข้มแข้ง 3 ระดับ คือ ระดับเข้มแข็ง ระดับปานกลาง และระดับอ่อนแอ อย่างละ 1 กลุ่ม ส่วนคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มตัวอย่างเลือกตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์ที่มีระดับความเข้มแข็งแตกต่างกัน ใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ คณะกรรมการและสมาชิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธี Least Significant Difference (LSD) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และที่ระดับนัยสำคัญ .01 ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับความเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนเมืองบุรีรัมย์มีระดับความเข้มแข็งจำนวน 4 กลุ่ม ระดับปานกลาง จำนวน 6 กลุ่ม และระดับอ่อนแอ จำนวน 7 กลุ่ม 2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนเมืองบุรีรัมย์ จำแนกตามระดับความเข้มแข็งของกลุ่ม พบว่าปัจจัยด้านความเป็นองค์กรชุมชน เรื่องการมีผลประโยชน์ร่วมและการมีอุดมการณ์ร่วม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนเรื่องความรู้เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ปัจจัยด้านสมาชิก เรื่องการมีส่วนร่วมของสมาชิก การมีวินัยของสมาชิก ปัจจัยด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ เรื่องกระบวนการได้มาซึ่งคณะกรรมการ เรื่องการจัดเวทีถ่ายทอดความรู้สู่สมาชิก และปัจจัยด้านการได้รับการสนับสนุนจากภายนอก (ทุน/อบรม/ดูงาน/สรุปบทเรียน) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านความเป็นองค์กรชุมชน เรื่องระยะเวลาในการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ปัจจัยด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ เรื่องระเบียบข้อบังคับไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และปัจจัยด้านผู้นำ เรื่องความมีมนุษย์สัมพันธ์ของผู้นำมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเรื่องความเป็นประชาธิปไตย ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม ความคิดสร้างสรรค์ การได้รับการฝึกอบรม ความโปร่งใสและความเสียสละของคณะกรรมการ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ 3. ปัจจัยที่แสดงถึงระดับความเข้มแข็งของเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ ได้แก่ ปัจจัยด้านความเป็นองค์กรชุมชน เรื่องการมีผลประโยชน์ร่วม การมีอุดมการณ์ร่วม ปัจจัยด้านสมาชิก เรื่องการมีส่วนร่วมของสมาชิก การมีวินัยของสมาชิก ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ เรื่องความมีมนุษยสัมพันธ์ของผู้นำ ปัจจัยด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ เรื่องกระบวนการได้มาซึ่งคณะกรรมการ การจัดเวทีถ่ายทอดความรู้สู่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยด้านการได้รับการสนับสนุนจากภายนอก (ทุน/อบรม/ดูงาน/สรุปบทเรียน) en_US
dc.description.abstract The opjectives of this study were to investigate the strength levels of the Saving Group Network of Buriram Urban Community, to compare the factors affecting the strengths of the Saving Group Network of Buriram Urban Community – classifying by the levels of the group strengths, and to study the factors that indicated the strength of the Saving Group Network of Buriram Urban Community. The population were 17 groups of the Saving Group Network of Buriram Urban Community. The sample were the Saving Groups that were qualified with the 3-level criteria for measuring the strength levels of the community organisations. The sample were selected through purposive sampling techniques by selecting one group from each of the three strength levels i.e. string level, moderate level, and weak level, while the sample of the committee and members were selected by using the Krcejcie and Morgan’s table to make the total number of 332 people. The instruments used for comparing the different of the factors affecting the strengths of the saving groups with different strength levels were the questionnaires together with interviewing the committee and members. The statistics used in data analysis were the frequencies, percentage, the One-way ANOVA, and the paired-analysis of differences by means of Least Significant Difference (LSD) at the significant level of .05, and .01. The results of the study were: 1. The strength levels of the Saving Group Network of Buriram Urban Community were 4 groups from the strong level, 6 groups from the moderate level and 7 groups from the weak level; 2. The results of the comparison of the factors affecting the strengths of the Saving Group Network of Buriram Urban Community – classifying by the levels of the group strengths were as follows: the status as the community organizations concerning the mutual benefits and the mutual ideal were different at the significant level of .01; while the knowledge concerning the regulations were different at the significant level of .05; the factors concerning the members, the member involvement, the disciplines of the members, the factors concerning the arrangement of the learning process, the procedure for obtaining the committee members, the arranging of the floor for educating the members, and the factors concerning the subports received from outsiders (scholarships/training/fieldtrip/lesson conclusion) were different at the significant level of .05; the factors concerning the community organization, the time consuming for setting up the Saving Groups, the factors concerning the learning processes, were not different; the factors concerning the leadership, the human relations of the leaders were different at the significant level of .05; the factors concerning the democracy, the responsibility, the involvement, the creation, the amount of training, the transparency and the sacrifice of the committee were not different; and 3. The factors that indicate the strength levels of the Saving Group Network included the factors concerning the status as the community organizations, the mutual benefits, the mutual ideal, the factors concerning the members, the member involvement, the disciplines of the factors concerning the leaderships, the human relations of the leaders, the factors concerning the procedure for learning processes, the processes for obtaining the committee, the floor for educating the members, and the factors concerning the supports received from outsiders (scholarships/training/fieldtrip/lesson conclusion) en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนเมืองบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนเมืองบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The factors affecting the strengths of the Saving Group Network of Buriram Urban Community en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics