ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.author ถนอมสิน, ถาวร
dc.date.accessioned 2017-09-12T07:42:37Z
dc.date.available 2017-09-12T07:42:37Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1226
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาละเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษาและหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้อำนวยการสถานศึกษา และหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 2.248 ถึง 22.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9903 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ Independent Samples t-test และการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดี่ยว (One – Way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างจึงทำเป็นการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ในแต่ละด้านตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe ’) กำหนดค่าสถิติที่ระดับในสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษาและหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ทั้งโดยรวมและรายขั้นตอนอยู่ในระดับกลาง 2. เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นจำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษากับเจ้าหน้าที่พัสดุและจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษาและหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ทั้งโดยรวมและรายขั้นตอนไม่แตกต่างกัน 3. เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน พบว่า การจัดหาพัสดุ การควบคุมพัสดุ และการจำหน่ายพัสดุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนขั้นตอนอื่นๆไม่แตกต่างกัน 4. เปรียบเทียบความคิดเห็นของหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมแตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การจัดหาพัสดุ และการควบคุมพัสดุ และการควบคุมพัสดุ แตกต่างกันอย่างมีในนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนขั้นตอนอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 5. ผู้อำนวยการสถานศึกษาและหัวหน้าเจ้าหน้าที่งานพัสดุให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปเป็นรายขั้นตอนที่มีค่าร้อยละสูงสุดดังนี้ 1) การวางแผนกำหนดความต้องการพัสดุควรมีการประชุมวางแผนกำหนดความต้องการพัสดุในแต่ละปีงบประมาณโดยให้บุคากรทุกคนมีส่วนรวมกำหนดความต้องการพัสดุ 2) การจัดหาพัสดุ ควรมีการจัดหาพัสดุให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และมีการปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการอย่างถูกต้องละใส่โปร่ง 3) การจำแนกพัสดุ ควรแจกจ่ายพัสดุตามความต้องการและจำแนกตามระเบียบการเบิกจ่ายพัสดุ 4) การควบคุมพัสดุ ควรมีการทำทะเบียนควบคุมพัสดุให้ชัดเจนและเป็นปัจจุบัน 5) การบำรุงรักษาพัสดุ เจ้าหน้าที่พัสดุไม่มีความรู้ในเรื่องการซ่อมบำรุงพัสดุจึงควรมีเจ้าหน้าที่เฉพาะมาทำหน้าที่ซ่อมบำรุงพัสดุ และ 6) การจำหน่ายพัสดุ เจ้าหน้าที่พัสดุขาดความรู้เรื่องการจำหน่ายพัสดุ ควนจัดอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ปีละ 1 ครั้ง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัญหาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2 en_US
dc.title.alternative PROBLEMS OF MATERIAL MANAGEMENT IN SCHOOL UNDER BURIRAM PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics