ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูและครูวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.author จงจิตร, ลาน้ำเที่ยง
dc.date.accessioned 2017-09-12T07:27:41Z
dc.date.available 2017-09-12T07:27:41Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1222
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ตามแนวคิดของครูและครูวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 จำแนกสถานภาพตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของโรงเรียน โดยประเมินใน 7 องค์ประกอบ คือ มีความรู้ความเข้าใจทางทฤษฎี ปรัชญา ของหลักสูตรต่างๆสนับสนุนและส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียน ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครู จำนาน 335 คน และครูวิชาการ จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.986 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test แบบ Independent และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- Way ANOVA)ผลการวิจัยพบว่า 1.ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ตามแนวคิดเห็นของครูและครูวิชาการโดยรวมและด้านมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก 2.ผลการเปรียบเทียบ ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดของครูและครูวิชาการจำแนกตามสภาพตำแหน่ง พบว่า โดยรวมมีระดับความคิดเห็นของครูและครูวิชาการพบว่า โดยรวมมีระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านเป็นแบบอย่างที่ดีในเชิงวิชาการด้านสนับสนุนวิชาการและส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียน และด้านการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความคิดเห็นไม่ต่างกัน 3.ผลการเปรียบเทียบ ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครูและครูวิชาการพบว่าโดยรวมมีระดับความคิดเห็นไม่ต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการนิเทศและกำกับให้การเรียนการสอนเป็นไปตามแผนการสอนที่กำหนดไว้ มีระดับความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ผลการเปรียบเทียบ ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครูและครูทางวิชาการจำแนกได้ตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านมีระดับความคิดเห็น ไม่ต่างกัน 5.ข้อเสนอแนะ แนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ ผู้บริหารและครูควรมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในด้านหลักสูตร รวมทั้งควรมีการวางแผนในการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริม สนับสนุนให้ครูได้มีการผลิต สื่อ นวัตกรรม เข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับปรุงมาใช้ในการะบวนการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูและครูวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative ACADEMIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AS TOLD BY TEACHERS AND ACADEMIC TEACHERS UNDER BURIRAM SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 32 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics