ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาโมเดลประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.author อดุลย์, สุชิรัมย์
dc.date.accessioned 2017-09-06T04:22:29Z
dc.date.available 2017-09-06T04:22:29Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1114
dc.description.abstract การวิจัยนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาโมเดลประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 240 โรง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบระบบประกันคุณภาพภายใน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 720 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 2 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นรายข้อ ระหว่าง .990-.991 และ .979-.980 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .991 และ .981 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย X ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Coefficient) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยตัวแปรสาเหตุ ได้แก่ การจัดระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา บุคลากรในโรงเรียน วัฒนธรรม องค์การ และสภาพแวดล้อม ตัวแปรผล ได้แก่ คุณภาพด้านผู้เรียน คุณภาพด้านครู และความพึงพอใจของประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่าดัชนีที่แสดงความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลหลังการปรับโมเดลผ่านตามเกณฑ์การพิจารณาทุกค่าดังนี้ X2 = 79.243(p value=0.845) ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าดัชนี X2/df เท่ากับ 0.853 RMSEA เท่ากับ 0.000 SRMR เท่ากับ 0.0197 ค่า GFI เท่ากับ0.962 และ AGFI เท่ากับ 0.938 2. ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน คือ ด้านบุคลากรในองค์การ และการจัดระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สำหรับตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อตัวแปรประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสูงที่สุด คือ สภาพแวดล้อม ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมจากมากไปหาน้อยคือ สภาพแวดล้อม บุคลากรในโรงเรียน การจัดระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และวัฒนธรรมองค์การ The purposes of this research were 1) to study and develop the effectiveness model of the internal quality assurance in basic educational schools. And 2) to examine the goodness-of-fit of effectiveness model of the internal quality assurance in basic educational schools constructed by the researcher with the empirical data. The samples were 720 school administrators, teachers who are responsible for internal quality assurance, and committee chairpersons of basic educational schools, selected by using multi-stage random sampling derived from 240 schools under Educational Service Area offices in the Northeast region. The research instruments were 2 sets of questionnaires constructed by the researcher with its reliability of each item between .990-991 and the value of reliability .991-991 and the value of rcliability.991and. 981. The data were analyzed by using mean Standard deviation, Pearson’s product moment coefficient, confirmatory factor analysis and the for goodness of fit between the hypothesis model and the empirical data by computer program statistical package. The findings were as follows: 1. The effectiveness model of the internal quality assurance in basic educational school consisted of causal variables: internal quality assurance system management in schools, school personnel, organizational culture, and environmental state. Also, the effective variables were the students’ quality, and the satisfaction of committee chairpersons of basic educational schools. The goodness of fit of the internal quality assurance in basic educational schools was consisted with the empirical data. The index indicating the consistency with data after model improvement past the considered criteria were as follows: Chi-squarc-79.243, (p-value=0.845), with no statistical significance at 0.05, degree of freedom (df) =0.853.RootMcan square Error of Approximation (RMSEA) =0.000, Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) =0.0197, Goodness of Fit Index (GFI) =0.962 and Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) =0.938. 2. The variables having the direct effect the effectiveness model of the internal quality assurance in basic educational schools were that the personnel in organizations and the internal quality assurance system management in schools for the variables having indirect to variables of effectiveness of the internal quality assurance with the highest variable was environmental state; whereas, variables influencing the integration from high to low were environmental state, school personnel, internal quality assurance system management in school, and organizational culture. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การพัฒนาโมเดลประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน en_US
dc.title.alternative The Development of Effectiveness Model of Internal Quality Assurance in Basic Educcation Schools en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics