ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำ จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ขจรพัฒน์, วิภาคสวัสดิ์
dc.date.accessioned 2017-09-06T04:02:27Z
dc.date.available 2017-09-06T04:02:27Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1089
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาสภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำ จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2)เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน เกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยจำแนกตามขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการบริหารงาน ตามกรอบโครงสร้างซีท (SEAT) 4 ด้าน คือ ด้านนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านเครืองมือ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 206 คน โดยใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .9771 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม ของโรงเรียนแกนนำจังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมและรายด้านทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมมีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมมีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามประสบการณ์ในการบริหารงาน โดยรวมมีการปฏิบัติไม่แตกต่าง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมมีการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน 4. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม ของโรงเรียนแกนนำจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า 1) ด้านนักเรียน ผู้บริหารมีความคิเห็นว่า นักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษเรียนร่วมจะเรียนร้ได้ช้ากว่าปกติหรือไม่รู้เลย ครูต้องใช้ความพยามในการสอนเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และใช้เทคนิคที่หลากหลาย และมีข้อเสนอแนะว่า ควรจัดครูที่มีความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษโดยตรงเพราะส่วนมากในปัจจุบันครูที่ยังสอนยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจเด็กพิเศษเท่าที่ควร 2) ด้านสภาพแวดล้อมผู้บริหารมีความคิดเห็นว่า การจัดสภาพแวดล้อมยังไม่เหมาะสมและไม่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมต่างๆเท่าที่ควร ไม่มีห้องเฉพาะสำหรับนักเรียนพิเศษเรียนร่วม และมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้แก่โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อเด็กพิเศษแต่ละประเภท 3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้บริหารมีความคิดเห็นว่าในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบางกิจกรรม เด็กปกติกับเด็กพิเศษเรียนร่วมต้องแยกกัน ดังนั้นควรมีสือ และเครื่องมือที่เหมาะสม และมีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรจัดงบประมาณในการผลิตสื่อ วัสดุอุปกรณ์การเรียนให้ครูได้ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และ 4) ด้านเครื่องมือ ผู้บริหารมีความคิเห็นว่า ขาดสือ วัสดุ อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทำให้การเรียนการสอนไม่ได้ผลเท่าที่ควร และมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการจัดทำคู่มือเด็กพิเศษเรียนร่วมแต่ละประเภท ว่าต้องการใช้เครื่องมือประเภทใดบ้าง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title สภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำ จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative THE STATES OF MEANSTREAMING EDUCATIONAL MANAGEMENT OF LEADING SCHOOLS IN BURIRAM PROVINCE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics