ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Show simple item record

dc.contributor.author จุรีพร, สุขเกษม
dc.date.accessioned 2017-09-06T03:56:04Z
dc.date.available 2017-09-06T03:56:04Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1082
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนควบกล้ำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.52-0.65 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.43-0.60 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกหัดทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1/E และ E.I. การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติที (Dependent Sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนควบกล้ำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.77/83.83 2. 2.นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนควบกล้ำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. 3.ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนควบกล้ำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1เท่ากับ 0.7113 แสดงว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 71.13 4. 4.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนควบกล้ำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 en_US
dc.title.alternative EFFECTS OF READING AND WRITING CLUSTER WORDS EXERCISES USING COOPERATIVE LEARNING ATAD TECHNIQUE FOR PRATHOMSUKSA 1 STUDENTS en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics