ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาและแนวทางการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author รัฐทนันท์, สุขวงกฎ
dc.date.accessioned 2017-09-06T03:49:17Z
dc.date.available 2017-09-06T03:49:17Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1072
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริการส่วนตำบลชุมแสง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอง๕การบริหารส่วนตำบลชุมแสง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง จำนวน 5 คน ซึ่งใช้ประชากร และผู้ปกครอง จำนวน 127 คน ได้จากการกำหนดขนาดตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มด้วยวิธีการอย่างง่าย ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ บุคลากรส่วนตำบล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างโดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.9446 การวิเคราะห์ข้อมูลกรณีข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า : 1. ปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริการส่วนตำบลชุมแสง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่มีการปัญหาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน ด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ ยกเว้นด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 2. แนวทางการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของการบริหารส่วนตำบลชุมแสง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีดังนี้ 2.1 ด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ ครู และผู้ดูแลเด็กเล็กต้องมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กเล็ก และผู้ดูแลเด็กควรจบการศึกษาทางด้านปฐมวัยโดยตรง 2.2 ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร การจัดกิจกรรมประจำวันในห้องเรียนและนอกห้องเรียนให้เด็กพัฒนาทุกๆ ด้าน ส่วนการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรการเรียนการสอนบางวันควรมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.3 ด้านอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย การก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรก่อสร้างตามแบบมาตรฐานที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด และควรมีความปลอดภัย สะอาดถูกสุขลักษณะอนามัยมีการแยกห้องครัวออกจากกันอย่างชัดเจน 2.4 ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน องค์การบริการส่วนตำบลควรประสานงานและประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้ประชาชนทราบและควรจัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่นและชุมชนเกี่ยวกับทิศทางและแนวทางปฏิบัติงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จะทำให้ผู้ปกครองนั้นเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพิ่มมากขึ้นจากเดิม 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ 3.1 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง ประเด็นที่มีผู้เสนอแนะมากที่สุด คือ ด้านบุคลากรและบริหารจัดการ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรเป็นผู้ที่จบการศึกษาทางด้านการศึกษาปฐมวัยโดยตรง ควรสนับสนุนงบประมาณให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างพอเพียง และด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ควรจัดสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเพียงพอ 3.2 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ ควรสนับสนุนส่งเสริมในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ควรให้การสนับสนุนด้านทรัพยากรที่ใช้ในการพัฒนาเด็กเล็กให้มากขึ้นกว่าเดิม ด้านอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย คือ ควรมีการกระจายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพิ่มให้มีสถานที่ใกล้ชุมชนขึ้น หรือควรจัดให้มีรถรับ – ส่งนักเรียนที่อยู่ห่างไกลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรสนับสนุนงบประมาณในการสร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมจากชุมชนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม การประสานงาน การให้มีส่วนร่วมจัดซื้อจัดจากส่วนกรรมการควรเป็นตัวแทนของชุมชน การจัดประชุมชี้แจงทุกครั้งต้องประสานงานทางโทรศัพท์อีกครั้งหลังจากทำหนังสือส่งให้ผู้ปกครอง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัญหาและแนวทางการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics