ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่องการประดิษฐ์ที่อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Show simple item record

dc.contributor.author รัชนี, วาระรัมย์
dc.date.accessioned 2017-09-06T03:46:47Z
dc.date.available 2017-09-06T03:46:47Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1070
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เรื่อง การประดิษฐ์ที่อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่อง การประดิษฐ์ที่อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่อง การประดิษฐ์ที่อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่อง การประดิษฐ์ที่อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านตาหล่ำ อำเภอคูเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 14 จากจำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่อง การประดิษฐ์ที่อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 10 เล่ม 10 เรื่อง โดยแต่ละเล่มมีแบบทดสอบประจำเล่ม ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 5 ข้อ แบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบประเมินทักษะกระบวนการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ที่อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.84 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ E₁ / E₂, E.I. และ Dependent Samples t – test. ผลการวิจัยพบว่า 1. เอกสารประกอบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่องการประดิษฐ์ที่อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.83/90.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่อง การประดิษฐ์ที่อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่อง การประดิษฐ์ที่อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.8398 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 83.98 4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่อง การประดิษฐ์ที่อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ เรื่องการประดิษฐ์ที่อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 en_US
dc.title.alternative EFFECTS OF COMPLEMENTARY MATERIALS EMPHAZING THE PROCESS SKILLS ENTTTLED ''CONSERVATIONAL INVENTION AND LEGACY OF LOCAL WISDOM'' IN OCCUPATIONAL AND TECHNOLOGICAL STRAND FOR PRATHOMSUKSA 5 STUDENTS en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics