ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัญหาและความต้องการในการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.author นริศรา, พิมพ์มา
dc.date.accessioned 2017-09-06T03:41:09Z
dc.date.available 2017-09-06T03:41:09Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1061
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบปัญหาในการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำแนกตามสถานภาพตำแหน่งและขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 291 คน ได้จากการกำหนดขนาดตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน กำหนดโควตาเป็นผู้บริหาร จำนวน 30 คน แล้วทำการเลือกแบบเจาะจงส่วนครู จำนวน 261 คน จะทำการสุ่มแบบชั้นภูมิอย่างไม่เป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .9778 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples t-test และ One-way ANOVA ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีปัญหาอยุ่ในระดับมากเช่นกัน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานราชการ และด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ตามลำดับ 2. ความต้องการในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 2.1 ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง มีความต้องการให้มีครูครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ รองลงมาได้แก่ มีการติดตามและประเมินผลจากการนำแผนสู่การปฏิบัติในโรงเรียนอย่างจริงจัง และควรแก้ปัญหาครูไม่ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างจริงจัง 2.2 ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง มีความต้องการให้เขตพื้นที่การศึกษาบรรจุครูให้ตรงกับสาขาวิชาเอกที่โรงเรียนสำรวจ รองลงมาได้แก่ มีการปรับเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะสมตามความถนัด และโรงเรียนมีส่วนร่วมในการพิจารณารับย้าย/โอนข้าราชการครู 2.3 ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานราชการ มีความต้องการให้มีงบประมาณเพียงพอในการพัฒนาบุคลากร รองลงมาได้แก่ โรงเรียนจัดหาวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้กับครูผู้สอนอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 3. เปรียบเทียบปัญหาในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. เปรียบเทียบปัญหาในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญาทางสถิติที่ระดับ .01 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัญหาและความต้องการในการบริหารงานบุคลากรของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 en_US
dc.title.alternative PROBLEM AND NEEDS ON PERSONNEL ADMINISTRATION OF THE OPPORTUNITY EXTENDED SCHOOLS UNDER BURIRAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics