ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ.2547-2554

Show simple item record

dc.contributor.author นภาวรรณ, จันทร์พาณิชย์
dc.date.accessioned 2017-09-06T03:27:22Z
dc.date.available 2017-09-06T03:27:22Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1046
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรแลการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2554 จำนวน 135 เรื่อง โดยกำหนดขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ลักษณะทั่วไปของวิทยานิพนธ์ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใข้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ชุด ประกอบด้วยแบบสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ แบบเติมคำและแบบปลายเปิด ส่วนชุดที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ เป็นมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2554 สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 2 คน รวมเป็น 16 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลในกรณีที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2554 ที่นำมาวิเคราะห์มีทั้งหมด จำนวน 135 เรื่อง เป็นวิทยานิพนธ์ในปี 2554 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.67 มีการตั้งสมมติฐาน คิดเป็นร้อยละ 98.51 และเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 29.36 2. กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 )มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.37 และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 76.30 3. วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการทดสอบแบบ One – Group Pretest Posttest Design มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 96.06 ใช้เวลาทดลอง 11 -15 ชั่วโมง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.56 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.91 และมีแผนการเรียนรู้จำนวน 1 – 10 แผน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.30 4. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 52.53 ใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ในการหาคุณภาพเครื่องมือ คิดเป็นรัอยละ 19.13 และใช้ Denpendent Samples t – test เพื่อทดสอบสมมติฐาน คิดเป็นร้อยละ 90.37 5. ผลการวิจัยสอดคล้องกับสมมติฐาน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 98.52 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.1 คิดเป็นร้อยละ 74.79 เครื่องมือทดลองผ่านเกณฑ์ ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 85.22 โดยมีค่าดัชนีประสิทธิผล อยู่ระหว่าง 0.71 – 0.80 คิดเป็นร้อยละ 39.13 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.54 6. จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างได้แสดงความเห็นว่า การทำวิทยานิพนธ์มีความมุ่งหมาย เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และช่วยให้ครูมีประสบการณ์ จัดการเรียนการสอนอันส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ.2547-2554 en_US
dc.title.alternative The Synthesis of Theses in Master of Education Program in Curriculum and Instruction, Buriram Rajabhat University During B.E. 2547 - 2554 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics