ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวทางการบริหารจัดการแก้ปัญหายาเสพติดในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษากับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.author รังสรรค์, คำเกิด
dc.date.accessioned 2017-09-06T03:23:34Z
dc.date.available 2017-09-06T03:23:34Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1041
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแนวทางการบริหารจัดการปัญหายาเสพติดในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษากับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง และประสบการณ์ใน 5 ด้าน คือ ด้านการเตรียมการ ด้านการดำเนินการ ด้านการให้ความร่วมมือ ด้านการประเมินผล และด้านการนำผลการปฏิบัติสู่การปรับปรุง กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มจากประชากร โดยกำหนดขนาดตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 113 คน และครูจำนวน 310 คน รวม 423 คน แล้วทำการสุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ (Check Lists) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบปลายเปิด (Open Form) แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9944 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการเชฟเฟ่ (Scheffe Method) โดยกำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษากับครูเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการปัญหายาเสพติดในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการดำเนินการ ด้านการปฏิบัติสู่การปรับปรุง ส่วนด้านการเตรียมการอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษากับครูเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการปัญหายาเสพติดในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยจำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน 3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษากับครูเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการปัญหายาเสพติดในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยจำแนกตามประสบการณ์ ทั้งโดยรวมรายด้านและรายข้อมีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน 4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษากับครูเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการปัญหายาเสพติดในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ดังนี้ ควรแต่งตั้งคณะกรรมการที่รับผิดชอบในด้านการเตรียมการบริหารจัดการปัญหายาเสพติด การให้ความรู้เรื่องโทษและวิธีป้องกันเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดแก่นักเรียน รวมทั้ง มีการกำหนดขั้นตอนในการดำเนินการกับปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลและประมวลผลข้อมูลด้านปัญหายาเสพติดในโรงเรียนการประสานงานและขอความร่วมมือกับผู้ปกครองโดยตรงในการดำเนินการบริหารจัดการปัญหายาเสพติด และ ประสานงานกับแผนงานโรงเรียนอื่นๆ ในการดำเนินการบริหารจัดการกับปัญหายาเสพติดร่วมกัน ผู้บริหารสถานศึกษาควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการสรุปรับทราบการประเมินผล ควรนำนโยบายในการบริหารจัดการปัญหายาเสพติดของกระทรวงศึกษาธิการที่มีปัญหาในการปฏิบัติไปปรับปรุงให้เกิดความชัดเจน และนำผลการปฏิบัติที่บกพร่องในการขอความร่วมมือกับหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการบริหารจัดการปัญหายาเสพติดไปสู่การปรับปรุง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title แนวทางการบริหารจัดการแก้ปัญหายาเสพติดในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษากับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative Narcotic Problem Management Guidelines in Educational Expansion Opportunities School of School Administrators and Teachers Under Buriram Educational Service Area Ofice 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics