ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการ บวกและการลบ ระดับประถมศึกษาปีที่ 3

Show simple item record

dc.contributor.author อำไพ, ศรีโพธิ์กลาง
dc.date.accessioned 2017-09-06T03:21:39Z
dc.date.available 2017-09-06T03:21:39Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1039
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD การแก้โจทย์ปัญหาการบวกลบ ระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิด STAD เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ระดับชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 3 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การแก้ไขโจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนบ้านทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 นักเรียนทั้งหมด 22 คน ชาย 10 หญิง 12 คน เพื่อใช้เป็นกลุ่มทดลอง ได้มาโดยการเลิกเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิด STAD เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ระดับชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 3 จำนวน 12 แผน แบบทดสอบย่อย 12 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.42-0.75 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.25-0.83 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (r) เท่ากับ 0.8668 และแบบทดสอบถามความพึ่งพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานและทดสอบสมมุติฐานการวิจัย โดยใช้ค่าสถิติ t (One-Sample t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ ระดับปะถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีประสิทธิภาพ 80.08/79.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนรู้ด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนมากกว่าร้อยละ 20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ อยู่ในระดับมากและมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการ บวกและการลบ ระดับประถมศึกษาปีที่ 3 en_US
dc.title.alternative LEARNING ACTIVITY PROVISION USING COOPERATIVE LEARNING BASED ON THE STAD TECHNIQUE ADDTION AND SUBTRACTION PROBLEM SOLVING OF PRATHOMSUKSA 3 STUDENTS en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics