ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การบริหารแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนของผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.author อัษราวุฒิ, จันทะแสง
dc.date.accessioned 2017-09-06T03:19:18Z
dc.date.available 2017-09-06T03:19:18Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1035
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของบุคลากรใน 2 ด้าน คือ 1) ด้านแหล่งเรียนรู้วิชาการ และด้านแหล่งเรียนรู้ส่งเสริมวิชาการ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากรทั้งสองด้านจำแนกตามตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษา และ 3) เพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากร 341 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 123 คน และครูผู้สอน 218 คน ซึ่งได้มาโดยตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นและมีค่าความเชื่อมั่น 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและค่าการทดสอบค่าเอฟและวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. การบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากรที่มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวม รายด้านและรายข้อ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก 3. . การบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยรวมรายด้านและรายข้อ ส่วนใหญ่อยุ่ในระดับมาก 4. การบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากร ที่มีตำแหน่งต่างกัน โดยรวมรายด้าน และรายข้อ ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นรายข้อเรื่องจัดการงบประมาณในการซ่อมแซ่มแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และบุคลากรร่วมกันจัดตั้งพัฒนาแหล่งเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ .05 5. การบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากร ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยรวมรายด้านและรายข้อ ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นรายข้อเรื่องจัดสรรงบประมาณในการซ่อมแซ่มแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดแหล่งเรียนรู้ ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 6. บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ ไม่มีการจัดทำเอกสารเผยแพร่แหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ได้จัดทำสารสนเทศการใช้แหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่สำรวจแหล่งเรียนรู้ตรงกับความเป็นจริง สนับสนุนให้ใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนน้อย มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้น้อย และชุมชนไม่ค่อยมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และมีข้อเสนอแนะว่า ควรจัดทำเอกสารเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ ควรนำผลการประเมินการใช้แหล่งเรียนรู้มาวางแผนปรับปรุง ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาห้องเรียน ควรมีการเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ควรใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้อย่างเต็มที่ และควรจัดแหล่งเรียนรู้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างเพียงพอ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การบริหารแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนของผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative SCHOOL LEARNING RESOURCES ADMINISTRATION OF ADMINISTRATION UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 32 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics