ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.author อำพรรัตน์, สยามประโคน
dc.date.accessioned 2017-09-06T03:13:24Z
dc.date.available 2017-09-06T03:13:24Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1031
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยมุ่งศึกษาใน 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานด้านบุคคล ด้านการบริหารงานทั่วไป จำแนกตามสภาพตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 167 คน และครูผู้สอน จำนวน 315 คน โดยการกำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) แล้วทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ (Check List) แบบมาตรฐานส่วนประเมินค่า (Rating Scale) และแบบปลายเปิด (Open Form) ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบสอบถามมีค่าตั้งแต่ 1.89-5.43 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9651 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้การทดสอบค่า Independent Samples t-test และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านจะเปรียบเทียบรายคู่ใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’) โดยกำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ทั้ง 4 ด้านคือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่งไป โดยรวมและรายด้านมีปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอยเกี่ยวกับสภาพการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามสถานภาพตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านการบริหารงานบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารและครูผู้สอน เกี่ยวกับสภาพการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ด้านการบริหารวิชาการควรส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเรียนการสอนมากกว่าพิมพ์เอกสาร ด้านบริหารงบประมาณควรส่งเสริมการบริหารจัดการงบประมาณการเบิกจ่ายจัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้วยคอมพิวเตอร์และจัดทำโครงการพัฒนาการใช้คอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง ด้านการบริหารงานบุคคลควรมีการออกแบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรที่ครอบคลุมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามเหมาะสม และด้านการบริหารงานทั่วไปควรมีการพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ โดยการสำรวจและการจัดทำทะเบียนเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเชื่อมโยงกับสถานศึกษาอื่น en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title สภาพการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative THE STATES OF USING COMPUTER FOR SCHOOLS ADMINISTRATION UNDER BURIRAM EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics