ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การผลิตถ่านอัดแท่งจากตะเกียบไม้ไผ่ที่ใช้แล้วร่วมกับเปลือกทุเรียน

Show simple item record

dc.contributor.author ธีรารัตน์ จีระมะกร
dc.date.accessioned 2024-03-08T04:08:19Z
dc.date.available 2024-03-08T04:08:19Z
dc.date.issued 2566-11-16
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8759
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาการผลิตถ่านอัดแท่งจากตะเกียบไม้ไผ่ที่ใช้เเล้วร่วมกับเปลือกทุเรียน โดยจะศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตถ่านอัดแท่ง และศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ การขึ้นรูป การคงรูป ค่าความหนาแน่น ดัชนีการแตกร่วน และคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิง ได้แก่ ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า และค่าความร้อน ประกอบด้วย 11 ชุดการทดลองในอัตราส่วน ตะเกียบไม้ไผ่ และเปลือกทุเรียน คือ 100:0 (T1), 90:10 (T2), 80:20 (T3), 70:30 (T4), 60:40 (T5), 50:50 (T6), 40:60 (T7), 30:70 (T8), 20:80 (T9), 10:90 (T10), และ 0:100 (T11) ทำการทดลองจำนวน 3 ซ้ำ อัดแท่งด้วยวิธีการอัดเย็น โดยใช้เครื่องอัดถ่านแบบสกรู และตัวประสานที่ใช้ คือ กาวแป้งเปียก 40 กรัม ผลการศึกษา พบว่า ถ่านอัดแท่งจากตะเกียบไม้ไผ่ที่ใช้แล้วร่วมกับเปลือกทุเรียน ในชุดการทดลองที่ T4, T5, T6 และ T7 สามารถขึ้นรูป และคงรูปได้สมบูรณ์ที่สุด เมื่อนำมาวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ และคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิง พบว่า ชุดการทดลองที่ T5 มีความเหมาะสมที่สุดในการนำมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งเนื่องจากมีการขึ้นรูป และคงรูปที่สมบูรณ์ มีค่าความหนาแน่น 1.2029ns กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ดัชนีการแตกร่วน 0.9953ns กรัม ปริมาณความชื้นร้อยละ 0.2078ns ปริมาณเถ้าร้อยละ 2.1682ns และค่าความร้อน 6,796 แคลอรีต่อกรัม เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของถ่านอัดแท่งปี 2547 กำหนดค่าความร้อนต้องไม่ต่ำกว่า 5,000 แคลรีต่อกรัม มีปริมาณค่าความชื้นไม่ต่ำกว่า 8 โดยน้ำหนัก ตามมาตรฐานกำหนด en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ถ่านอัดแท่ง ตะเกียบไม้ไผ่ที่ใช้แล้ว เปลือกทุเรียน en_US
dc.title การผลิตถ่านอัดแท่งจากตะเกียบไม้ไผ่ที่ใช้แล้วร่วมกับเปลือกทุเรียน en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics