ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน เขตสุขภาพที่ 3 เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนวัยทำงานที่มีภาวะอ้วน

Show simple item record

dc.contributor.author รินทร์หทัย กิตติ์ธนารุจน์, วันเพ็ญ สุทธิโกมินทร์
dc.date.accessioned 2023-03-14T07:06:27Z
dc.date.available 2023-03-14T07:06:27Z
dc.date.issued 2566-01-01
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8516
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของประชาชนเขตสุขภาพที่ 3 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะอ้วนของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป เขตสุขภาพที่ 3 และเพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนวัยทำงานที่มีภาวะอ้วน เขตสุขภาพที่ 3 จำนวน 1,693 คน ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565 รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha 0.9411 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา : ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด สถิติอนุมาน : การถดถอยพหุคูณ และ การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนเขตสุขภาพที่ 3 ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านระดับพื้นฐานบางประเด็น โดย สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับปานกลาง 2. สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ รายได้ แหล่งความรู้สุขภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์/วิทยุ/ทีวี แหล่งความรู้สุขภาพจากหอกระจายข่าว / อาสาสมัครชุมชน แหล่งความรู้สุขภาพจากไลน์/Facebook/อินเตอร์เน็ต การใช้สิทธิการรักษาด้วยบัตรประกันสังคม การใช้สิทธิการรักษาด้วยบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนเขตสุขภาพที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการทำนายการมีภาวะปกติหรือภาวะอ้วนของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป เขตสุขภาพที่ 3 มากที่สุดคือ การใช้สิทธิการรักษาด้วยกองทุนสวัสดิการชุมชน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 1.213 รองลงมาคือเพศ ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.976 และ การใช้สิทธิการรักษาด้วยบัตรทอง ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ -0.359 en_US
dc.description.abstract This research is a survey research with the objective of 1. To study factors influencing health literacy. 2. To study factors influencing obesity among people aged 15 years or older in Health Region 3. And to study in-depth information from relevant parties to develop a model to promote health literacy among 1,693 working-age people with obesity in Health Area 3 between December 2021 and September 2022. Data were analyzed by descriptive statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation, median, minimum and maximum values. Inferential statistics: multiple regression and Logistic Regression Analysis The results showed that 1. Most of the people in Health Region 3 had health knowledge through some basic levels. able to modify health behaviors at a moderate level 2. Marital status, education, occupation, income, sources of health knowledge from print media/radio/TV Source of health knowledge from the broadcasting tower / community volunteers The source of health knowledge from LINE/Facebook/Internet Exercise of treatment rights with social security cards The use of treatment rights with the state enterprise employee card It was a factor influencing health literacy of people in Health Region 3 with a statistical significance at the 0.05 level. 3. Factors that are important for predicting normal status or obesity among people aged 15 Years or older in the health zone 3 The most is the use of treatment rights with community welfare funds. with a regression coefficient of 1.213, followed by sex with the regression coefficient equal to 0.976 and the use of treatment with the gold card with a regression coefficient of -0.359 en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ปัจจัยที่มีอิทธิพล en_US
dc.subject ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ปัจจัยที่มีอิทธิพล en_US
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน เขตสุขภาพที่ 3 เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนวัยทำงานที่มีภาวะอ้วน en_US
dc.title.alternative Factors influencing health literacy of the people, health zone 3, to develop a model to promote health literacy among working-age people with obesity en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor rinhatai.kn@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics