ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพและแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Show simple item record

dc.contributor.advisor โกวิท วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.advisor ศรีเพ็ญ พลเดช en_US
dc.contributor.author อัจฉริยา, ฤทธิรณ
dc.date.accessioned 2021-11-19T02:17:01Z
dc.date.available 2021-11-19T02:17:01Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8011
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ตามความคิดเห็นของครู 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและขนาดโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพ การนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 331 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ และศึกษานิเทศก์ ซึ่งมี จำนวน 7 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านเทคนิควิธีการนิเทศ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการศึกษาสภาพการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 พบว่า 3.1 ด้านการกระบวนการนิเทศ ควรมีการสำรวจความต้องการโดยสังเกตซักถามและแลกเปลี่ยนอย่างเป็นมิตร 3.2 ด้านเทคนิควิธีการนิเทศ ควรร่วมมือจัดทำแผนการนิเทศให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน การจัดทำแผนการสอนสอดคล้องตามความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น การลดบทบาทของครู การจัดกิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ด้วยความสุข 3.3 ด้านกิจกรรมการนิเทศ ควรมีการนิเทศอย่างเป็นระบบมีการแจ้งแผนนิเทศไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การนิเทศมีการปฏิบัติได้จริง 3.4 ด้านการประเมินผลการนิเทศ ควรมีการนำข้อมูลการนิเทศมาพัฒนาการเรียน การสอนร่วมกัน โดยมีการดำเนินการตามแผนและคู่มือการนิเทศ en_US
dc.description.abstract The purposes of this study were 1) to examine state of administrators’ internal supervision in schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 4, according to teachers’ opinion, 2) to compare teachers’ opinion toward internal supervision of administrators in schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 4 based on working experiences and school sizes ; and 3) to study development guidelines for internal supervision of administrators in schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 4. Two phases were implemented in this study. In phase 1, state of internal supervision of administrators was examined. The sample consisted of 331 teachers, selected by stratified sampling according to the school sizes. The instrument used to collect the data was a questionnaire, and the data were analyzed by using percentage, mean ( ), and standard deviation (S.D.). The hypothesis was tested by using t-test and the analysis of variance in term of one-way ANOVA. Phase 2 was to investigate development guidelines for internal supervision of administrators. 7 experts from school administrators, academic teachers and educational supervisors were chosen by using purposive sampling for interviews. Interview form was used to collect the data and the data were analyzed by using content analysis. The findings revealed as follows: 1. State of administrators’ internal supervision in schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 4 is a high level in overall aspects.The lowest average aspect is supervision technique. 2.Comparison of teachers’ opinions toward the state of internal supervision of administrators based on working experiences and school sizes was not different. 3. Development guidelines for internal supervision of administrators in schools were as follows : 3.1 For a supervision process, a need survey should be conducted by observations, asking questions, and exchanging opinions with a positive and friendly atmosphere. 3.2 For the aspect of supervision techniques, a supervision plan should be implemented according to the objectives of learning and teaching procedures. For a lesson plan design, it should be correlated to the needs of learners and local communities. Reducing the roles of teachers and using the activities that focus on learners should be implemented so that learners could learn by doing and with happiness. 3.3 In terms of supervision activities, they should be systematically organized so that they could be put into practice successfully. 3.4 For the evaluation of supervision, the information getting from the supervision should be used for the learning and teaching development according to the supervision plan and supervision manual. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สภาพและแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 en_US
dc.title สภาพและแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 en_US
dc.title.alternative State and Development Guidelines for Internal Supervision of Administrators in Schools Under Buriram Primary Educational Service Area Office 4 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics