ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาครูโดยกระบวนการสร้างรูปแบบดูแลให้คำปรึกษาแนะนำครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Show simple item record

dc.contributor.advisor โกวิท วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.advisor นวมินทร์ ประชานันท์ en_US
dc.contributor.author กติกา, ราชบุตร
dc.date.accessioned 2021-11-16T03:33:34Z
dc.date.available 2021-11-16T03:33:34Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7999
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายในการวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สปป. ลาว และ 2) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์รูปแบบดูแลให้คำปรึกษาครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สปป.ลาว ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้ดูแลให้คำปรึกษาแนะนำที่จบปริญญาโท มีประสบการณ์ ด้านการสอนและการทำวิจัย และมีผลงานการนำเสนอรายงานการวิจัยทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง จำนวน 10 คน และครูใหม่ที่มีประสบการณ์ด้านการสอนไม่เกิน 5 ปี และมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบบันทึก แบบสังเกต แบบสอบถามและประเด็นการสนทนากลุ่มที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียน มีชื่อว่า รูปแบบดูแลให้คำปรึกษาแนะนำในการทำวิจัยในชั้นเรียน 2 พีเอ็มอี ประกอบด้วยองค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบ เชิงสนับสนุน รูปแบบการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกระบวนการ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เตรียมการ ระยะที่ 2 วางแผนการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ ระยะที่ 3 ดำเนินการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ ระยะนี้ประกอบด้วย 4 ระยะย่อย คือ 1) การประชุมก่อนการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ 2) การสังเกตและการเก็บรวบรวมข้อมูล 3) การร่วมกันวิเคราะห์และการสะท้อน ความคิดเห็นและการปฏิบัติ 4) การประชุมหลังการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ ระยะที่ 4 การประเมินผลการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ ซึ่งรูปแบบการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพโดยการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน และการสะท้อนความคิด และข้อคิดเห็นผลการใช้คู่มือของรูปแบบจากผู้ใช้งานจริง จำนวน 10 คน ที่เป็นครูผู้ดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ และครูผู้รับการดูแลในการทำวิจัยในชั้นเรียน 2. ผลการใช้รูปแบบดูแลให้คำปรึกษาแนะนำในการทำวิจัยในชั้นเรียน 2 พีเอ็มอี เพื่อพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูวิทยาลัยครูสะหวันนะ เขต สปป.ลาว สามารถสรุปได้ ดังนี้ 2.1 สมรรถนะการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำของครูผู้ดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ หลังการใช้รูปแบบดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ 2 เอ็มพีอี โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับสูง ( = 82.20) 2.2 สมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการดูแลปรึกษาแนะนำในการทำวิจัยในชั้นเรียน หลังจากใช้รูปแบบดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ 2 พีเอ็มอี โดยภาพรวม พบว่า มีสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับสูง ( = 79.15) 2.3 ความพึงพอใจของครูผู้ดูแลให้คำปรึกษาแนะนำที่มีต่อรูปแบบการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ 2 พีเอ็มอี ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด ( = 4.78) 2.4 ความคิดเห็นของครูผู้รับการดูแลที่มีต่อครูผู้ดูแลให้คำปรึกษาแนะนำในการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.40) en_US
dc.description.abstract This research aimed 1) to develop a coaching and mentoring model for promoting teachers to conduct classroom action research at Savannaekhet Teacher Training College; and 2) to examine empirical effectiveness of the constructed model. This study employed Research and Development (R&D) method. The samples included 10 teachers, as a mentor, who graduated with master degree and were advisors with experience in teaching, conducting research and presenting academic research continuously and 10 novice teachers, as a mentee, who hold bachelor degree with less than five years teaching experience. The research instruments were pretest and posttest, competency evaluation form, note taking form, observation sheet, questionnaires, and focus group discussion. These tools were checked by the specific experts under the fixed criteria. The data were analyzed by using mean, percentage, standard deviation, t-test, and content analysis. The research found that: 1. The coaching and mentoring model for promoting teachers to conduct classroom action research at Savannaekhet Teacher Training College is called 2 PME Model (Preparing, Planning, Mentoring, and Evaluating) which consisted of the following components: Principles and Objective Component, Process Component, and Supporting Component. There were four phrases in the model which included Phase 1: Preparing Phase (P), Phase 2: Planning Phase (P), Phase 3: Mentoring Phase (M) and Phase 4: Evaluating Phase (M). In Phase 3, four sub-phases were included which were 1) Pre Conference, 2) Observation, 3) Observation Reflection and Data Gathering, and 4) Collaborative and Analysis. The 2 PME Model has been proved by 7 qualified experts and users of the model who volunteered to be mentors and mentees. 2. The result of implementing 2 PME Model for promoting teachers to conduct classroom action research at Savannaekhet Teacher Training College can be summarized in the following points: 2.1 The result for the mentors’ competency after using the 2 PME model was at a high level in overall aspect ( = 82.20). 2.2 The result the mentees’ competency after using the 2 PME model was at a high level in overall aspect ( = 79.15). 2.3 The satisfaction of the mentors towards the 2 PME model was at the highest level in overall aspect ( = 4.78). 2.4 The opinions of the mentees towards the mentors in conducting classroom action research showed that they agreed at a high level ( = 4.40) in overall aspect. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนาครูโดยกระบวนการสร้างรูปแบบดูแลให้คำปรึกษาแนะนำครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว en_US
dc.title การพัฒนาครูโดยกระบวนการสร้างรูปแบบดูแลให้คำปรึกษาแนะนำครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว en_US
dc.title.alternative The Development of Coaching and Mentoring Model for Teachers to Conduct Classroom Action Research at Savannakhet Teacher Training College in Lao People’s Democratic Republic en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics