ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบวก การลบ การคูณและการหารเศษส่วนโดยใช้วิธีแบบเปิดร่วมกับการเรียนรู้เทคนนิค TAI ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุเทียบ ละอองทอง en_US
dc.contributor.advisor เบญจพร วรรณูปถัมภ์ en_US
dc.contributor.author ณัฏฐพัชร, ปัดภัย
dc.date.accessioned 2021-11-16T03:05:51Z
dc.date.available 2021-11-16T03:05:51Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7985
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียน กับหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยใช้วิธี แบบเปิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วย การจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยใช้วิธีแบบเปิดร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยใช้วิธีแบบเปิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนสายมิตรหนองบุญมาก ตำบลบ้านใหม่ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนนครราชสีมา เขต 2 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยใช้วิธีแบบเปิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI จำนวน 15 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน ชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.47 มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.06 ถึง 0.80 และค่าความเชื่อมั่น 0.91 แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน ชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.02 ถึง 0.47 มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.63 ถึง 0.80 และค่าความเชื่อมั่น 0.91 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยใช้วิธีแบบเปิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ เรื่องผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยใช้วิธีแบบเปิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคTAI สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยใช้วิธีแบบเปิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were: 1) to compare students' learning achievement between before and after learning by using learning management on addition, subtraction, multiplication and division of fractions by using Open Approach together with Cooperative Learning TAI techniques for Prathomsuksa 5 students ; 2) to compare the analytical thinking abilities of students before and after learning by using learning management on addition, subtraction, multiplication and division of fractions by using Open Approach together with Cooperative Learning TAI techniques for Prathomsuksa 5 students; and 3) to study the satisfaction of students towards learning management on addition, subtraction, multiplication and division of fractions by using Open Approach together with Cooperative Learning TAI techniques for Prathomsuksa 5 students. The sample of the study consisted of 30 Prathomsuksa 5/1 students of Saimitnongbunmak School, Banmai Subdistrict, Nongbunmak District, Nakhonratchasima Province under Office of Nakhon Ratchasima Private Education Commission Service Area 2, obtained by using cluster random sampling technique. The research instruments included 15 lesson plans on addition, subtraction, multiplication and division of fractions by using Open Approach together with Cooperative Learning TAI technique; a 30-item 4 multiple choice learning achievement test on addition, subtraction, multiplication and division of fractions with discrimination ranging from 0.20 to 0.47, with difficulty from 0.60 to 0.80 and the reliability of 0.91; a 30 - item 4-multiple choice analytical thinking abilities test on addition, subtraction, multiplication and division of fractions with Discrimination ranging from 0.20 to 0.47, a difficulty from 0.63 to 0.80, and a reliability of 0.91, and a 10-item 5-rating scale questionnaire. The statistics used in data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypotheses were tested by t-test (Dependent Samples). The findings were as follows: 1. The students' learning achievement after learning by using learning management on addition, subtraction, multiplication and division of fractions by using Open Approach together with Cooperative Learning TAI techniques for Prathomsuksa 5 students was higher than those before learning with significant difference at the level of .05. 2. The analytical thinking abilities of students after learning by using learning management on addition, subtraction, multiplication and division of fractions by using Open Approach together with Cooperative Learning TAI techniques for Prathomsuksa 5 students was higher than those before learning with significant difference at the level of .05. 3. The satisfaction of students towards learning management on addition, subtraction, multiplication and division of fractions by using Open Approach together with Cooperative Learning TAI techniques for Prathomsuksa 5 students as a whole was at the highest level. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบวก การลบ การคูณและการหารเศษส่วนโดยใช้วิธีแบบเปิดร่วมกับการเรียนรู้เทคนนิค TAI ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 en_US
dc.title ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบวก การลบ การคูณและการหารเศษส่วนโดยใช้วิธีแบบเปิดร่วมกับการเรียนรู้เทคนนิค TAI ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 en_US
dc.title.alternative Effects of Learning Management on Addition, Subtraction, Multiplication and Division of Fraction by Using Open Approach Together with Cooperative Learning TAI Techniques towards Learning Achievement and Analytical Thinking Abilities of Prathomsuksa 5 Students en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics