ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนากระบวนการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาและเครือข่ายผู้ดูแลในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงกะทิง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author รณชิต, สมรรถนะกุล
dc.date.accessioned 2021-09-13T13:35:57Z
dc.date.available 2021-09-13T13:35:57Z
dc.date.issued 2564-09-13
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7854
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของกระบวนการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาและเครือข่ายผู้ดูแลในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงกะทิง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรในการศึกษาวิจัย คือ ผู้ป่วยจิตเภท อายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไปที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลบ้านด่าน โรงพยาบาลบุรีรัมย์และอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงกะทิง จำนวน 25 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีแบบเจาะจง (Purposive sampling) ทำการศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2562 ถึง กันยายน 2563 รูปแบบของการศึกษาวิจัย เป็นการวิจัยผสมผสาน (Mixed method research) ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงกะทิง แบบประเมินความสามารถโดยรวม (GAF scale) ของกรมสุขภาพจิต (2557) แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) ของ สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ (2557) และแบบติดตามผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 10 ด้านของ ชิดชนก โอภาสวัฒนา (2563) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้ง 4 ชุด ร่วมกับการสนทนากลุ่ม (Focus group) และ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ในกลุ่มบุคคลสำคัญ ได้แก่ ผู้ป่วย ครอบครัว แกนนำชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทีมสหสาขา เครือข่ายผู้ดูแลในชุมชน และผู้นำส่วนท้องถิ่น ใช้ระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้นรวม 3 เดือน ตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึง สิงหาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงปริมาณโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 80 อายุ 30-45 ปี จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 52 เป็นโสด จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 64 เจ็บป่วยมากกว่า 2 ปี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 88 อยู่ในชุมชน มากกว่า 5 ปี จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 96.0 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 76.0 เป็นผู้ที่สูบ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 56.0 มีอาการปกติเหมือนคนทั่วไป จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 92.0 ทำกิจวัตรประจำวันได้ จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 88.0 ช่วยเหลืองานบ้านได้ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 64.0 ประกอบอาชีพได้ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 60.0 มีปัญหาอุปสรรคในการดูแล จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 72.0 เช่น ขาดผู้ดูแล การใช้สารเสพติด ความเชื่อที่ไม่เหมาะสมต่อการบำบัดรักษาผู้ป่วย มีความสามารถโดยรวมระดับสูงสุดในการทำกิจกรรมต่าง ๆ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 48.0 มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 72.0 จากการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเภทภายหลังสิ้นสุดกระบวนการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย 1 เดือน พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพได้ ( = 1.08, SD = 0.28) ส่วนสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.16, SD = 0.75) ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่าพึงพอใจกิจกรรรมการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทครั้งนี้ เนื่องจากมีคุณค่าและมีประโยชน์ การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการเชื่อมโยงระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างเครือข่ายผู้ดูแล ผู้ดูแลหลัก และชุมชน พัฒนาระบบสารสนเทศ และศึกษาในระดับอำเภอต่อไป en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ผู้ป่วยจิตเภท, การดูแลในชุมชน, ทีมสหสาขา, เครือข่ายผู้ดูแลผู้ป่วย en_US
dc.title การพัฒนากระบวนการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาและเครือข่ายผู้ดูแลในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงกะทิง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The Development of Process of Continuity Care in Schizophrenic Patient by Interdisciplinary Team and Caregiver Network in Community of Bandongkating Health Promoting Hospital, Ban Dan District, Buriram Province en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor ronnachit.sm@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics