ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลกระทบของสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีต่อสุขภาพจิต ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author รณชิต, สมรรถนะกุล
dc.date.accessioned 2021-09-13T13:31:49Z
dc.date.available 2021-09-13T13:31:49Z
dc.date.issued 2564-06-30
dc.identifier.citation วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2564 en_US
dc.identifier.issn 1905-9949
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7853
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ที่มีต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประชากรในการศึกษาวิจัย คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 98 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2563 ถึง พฤษภาคม 2564 รูปแบบของการศึกษาวิจัย เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) เพื่อสำรวจข้อมูลของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามของกรมสุขภาพจิตร่วมกับผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Likert’s scale) 4-5 ระดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้ระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้นรวม 3 เดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2564 ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง จำนวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 92.9 รองลงไปเป็นเพศชาย จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 7.1 อายุอยู่ในช่วง 20-22 ปี จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 55.1 ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 รองลงไปอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 36.7 พักอาศัยอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัย จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 86.7 เดินทางมาศึกษาโดยรถจักรยานยนต์ จำนวน 86 คน คิดเป็นร้อยละ 87.8 มีรายได้เพื่อการศึกษา เป็นเงิน 4,001-5,000 บาทต่อเดือน จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 36.7 และไม่มีโรคประจำตัว จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 98.0 มีเพียง 2 คนที่มีโรคประจำตัว คิดเป็นร้อยละ 2.0 แต่เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลต่อโรค COVID-19 โดยรวมเฉลี่ยแล้ว อยู่ในระดับน้อยมาก ( 2.9, SD 0.8) ได้รับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตโดยรวมเฉลี่ยแล้ว อยู่ในระดับกระทบน้อย ( 2.4, SD 0.4) ส่วนปัญหาสุขภาพจิตระหว่างการศึกษาในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยรวมเฉลี่ยแล้ว อยู่ในระดับน้อยมาก ( 2.9, SD 0.4) การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัด สม่ำเสมอและต่อเนื่อง พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งเสริมให้นักศึกษา และบุคลากรได้รับภูมิคุ้มกันโรคโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 อย่างทั่วถึง รวมทั้งศึกษาวิจัยประเด็นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตในกลุ่มประชากรอื่น ๆ ต่อไป en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019, ผลกระทบต่อสุขภาพจิต , นักศึกษาพยาบาล en_US
dc.title ผลกระทบของสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีต่อสุขภาพจิต ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Impact of Covid-19 Pandemic toward Mental Health of Buriram Rajabhat University Nursing Student en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor ronnachit.sm@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics