ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (active Learning) ด้วย เทคนิคคิดเดี่ยว-คิดคู่-คิดร่วมกัน และเทคนิคการอภิปรายเป็นทีม ในรายวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา

Show simple item record

dc.contributor.author เตชะนิรัติศัย, วีระชัย
dc.contributor.author สมรรถนกุล, รณชิต
dc.date.accessioned 2021-03-16T21:30:15Z
dc.date.available 2021-03-16T21:30:15Z
dc.date.issued 2021-01-01
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7335
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (active Learning) ด้วย เทคนิคคิดเดี่ยว-คิดคู่-คิดร่วมกัน และเทคนิคการอภิปรายเป็นทีม ในเรื่องโรคที่เกิดจากจุลินทรีย์ และปรสิตที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศไทย โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการสอนรายวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา โดยใช้การจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ (active learning) ด้วยเทคนิคเพื่อนเรียน เทคนิคคิดเดี่ยว-คิดคู่-คิดร่วมกัน และเทคนิคการอภิปรายเป็นทีม (2) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ (3) แบบประเมินจัดการเรียนการสอน จำนวน 24 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1.พฤติกรรมการเรียนรู้หลังเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (active Learning) ด้วย เทคนิคคิดเดี่ยว-คิดคู่-คิดร่วมกัน และเทคนิคการอภิปรายเป็นทีม มาประกอบ อยู่ในระดับดีมาก 2.นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่ รู้(active learning) ด้วยเทคนิคเพื่อนเรียน เทคนิคคิดเดี่ยว-คิดคู่-คิดร่วมกัน และเทคนิคการอภิปรายเป็นทีมมาประกอบ มีผลการประเมินจัดการเรียนการสอนตามรายวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา อยู่ในระดับดีมาก คำสำคัญ: จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา, ผลการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (active Learning) ด้วยเทคนิคคิดเดี่ยว-คิดคู่-คิดร่วมกัน และเทคนิคการอภิปรายเป็นทีม Abstract This research is to improve teaching in microbiology and parasitology with the objective of studying the effects of active learning with single-thinking techniques and team discussion techniques. In regard to diseases caused by microorganisms and parasites that are a public health problem in Thailand. There was a sample from a student at the Faculty of Nursing Buriram Rajabhat University In year 1, academic year 2020, 41 people, research instruments include (1) microbiology and parasitology lesson plans using active learning with peer techniques. (2) learning behavior assessments (3) teaching and learning assessments. The research instruments use were : (1) The post-study learning behavior of students who have been active learning with single-thinking techniques and team discussion techniques is very good. (2) Students who are managed to learn actively with their peer techniques. Single-thinking techniques and team discussion techniques The results of the assessment are based on microbiology and parasitology at a very good level. Keywords: Microbiology and Parasitology, Learning Outcomes, Active Learning with Single-Thinking and Team Discussion Techniques en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา en_US
dc.subject ผลการเรียนรู้ en_US
dc.subject การจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (active Learning) ด้วยเทคนิคคิดเดี่ยว-คิดคู่-คิดร่วมกัน และเทคนิคการอภิปรายเป็นทีม en_US
dc.title ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (active Learning) ด้วย เทคนิคคิดเดี่ยว-คิดคู่-คิดร่วมกัน และเทคนิคการอภิปรายเป็นทีม ในรายวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา en_US
dc.title.alternative Effects of Active Learning Management with Single-Thinking Techniques - Thinking Together And team discussion techniques in microbiology and parasitology courses. en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor iron-horse2508@hotmail.com en_US


Files in this item

Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics