ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิราณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนการุณ en_US
dc.contributor.author ปิยะ, ขะจีฟ้า
dc.date.accessioned 2020-08-18T04:27:34Z
dc.date.available 2020-08-18T04:27:34Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6823
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานกลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 217 คนซึ่งได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีเเละมอร์แกนแล้วทำการสุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบสำรวจรายการแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบปลายเปิดมีค่าความเชื่อมั่น 0. 90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์ตามความคิดเห็นของครูโดยรวมและรายค้านอยู่ในระดับมาก 2. การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์ตามความคิดเห็นของครูที่มีสถานภาพตำแหน่งต่างกันโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01 เมื่อพิจารณาเป็นรายค้านพบว่าค้านการพัฒนาหลักสูตรและด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 3. การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์ตามความคิดเห็นของครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการพัฒนาหลักสูตรด้านกิจการนักเรียนและด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครูเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ ควรจัดอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจรวมไปถึงกระบวนการในดำเนินการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับบุคลากรทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารครูรวมไปถึงชุมชนรองลงมาคือผู้บริหารต้องให้ความสำคัญและเป็นแกนนำในการบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาในสถานศึกษาและสถานศึกษาควรมีเกณฑ์การประเมินและการสนับสนุนในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของครูที่สอดแทรกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง en_US
dc.description.abstract The objectives of this research were 1) to study opinions of teachers onimplementing sufficiency philosophy for educational management of Buriram Province Office of the Non- formal and Informal Education, and 2) to compare their opinions on this issue. They were classified by using educational levels and experiences. The sample consisting of 217 teachers were selected by using Krejcie and Morgan table and stratified random sampling. The instrument used in this study was a questionnaire with three parts: checklist, five-rating scale and open-ended questions. Its reliability was 0.90. The statistics used to analyze the collected data were frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypotheses were tested by using t-test and F-test. Moreover, the paired differences were tested by using a Scheffe's method. The findings were as follows: 1. The sample's opinion for implementing the sufficiency philosophy for educational management of Buriram Province Office of the Non-formal and Informal Education were at a high level in overall and each aspect. 2. The opinions on this issue of the sample with different positions were significantly different at 0.I level. Having considered each aspect, it showed that curriculum development and participation of parents and communities were also significantly different at 0.1 level while other aspect were not found different. 3. The opinions on this issue of the sample with different experiences were not significantly different at 0.1 level in overall and each aspect, Having considered each aspect, it revealed that curriculum development, students' activities and participation of parents andcommunities were also significantly different at 0.1 level while other aspects were not found different. 4. The following extra opinions and suggestions about this issue were mostly made by the sample: All sectors including administrators, teachers and communities should be invited to participate in the training on educational management in line with the sufficiency philosophy in order to assist them to have knowledge about this. Moreover, schools should have evaluation criteria, support the school curriculum development and motivate teachers to manage instructional activities based on the sufficiency philosophy. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Implementation of Sufficiency Philosophy for Educational Management of Buriram Province Office of the Non-formal and Informal Education en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics