ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบิริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประทวน วันนิจ en_US
dc.contributor.advisor เผ่าพงษ์พัฒน์ บุญกะนันท์ en_US
dc.contributor.author สุภัทรา, พยุงเจริญ
dc.date.accessioned 2020-08-18T03:47:00Z
dc.date.available 2020-08-18T03:47:00Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6798
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)ประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศการบริการงาน วิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับประสิทธิภาพระบบสารสนเทศการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตาม ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครู จำนวน 338 คน ซึ่งได้มา โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และทำการสุ่มแบบชั้นภูมิแล้ว ทำการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบสำรวจรายการ แบบมาตราส่วยประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่เป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. การประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริการงานวิชาการของ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของ ครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพระบบ สารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสติที่ระดับ .01 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 32 ที่มีจำนวนมากที่สุดอันดับแรก ได้แก่ 1)ควรพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และชุมชนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 2)ควรมีการประเมินผลการใช้งานระบบสารสนเทศ และ 3)ควรจัด ให้มีคู่มือ เอกสารประกอบหลักสูตรครบทุกกลุ่มสาระ en_US
dc.description.abstract This research aimed to 1) evaluate the information system efficiency for academic Administration in schools under Buriram Secondary Educational Service Area Office 32 and 2) compare the opinions of the school teachers about the information system efficiency for Academic administration in schools under Buriram Secondary Educational Service Area Office 32,divided by working experience and school sizes. The sample consisted of 338 teachers who were determined by the sample size table of Krejcie and Morgan, stratified random sampling and simple random sampling. The instrument used to collect data was a questionnaire created by the researcher. The questionnaire had three parts: checklist, 5 rating scale, and open-ended. The reliability was 0.89. the statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested by t-test, one way ANOVA, and the difference of the average was tested by the method of Scheffe. The results of the study were as follows: 1. The results of evaluation of information system efficiency for academic Administration in schools under Buriram Secondary Educational Service Area Office 32, according to the opinions of the teacher were at a high level in overall and each aspect. 2. Having compared the opinions of teachers about evaluation of information System efficiency for academic administration in schools under Buriram Secondary Educational Service Area Office 32 divided by working experience and school sizes, there was the statistically significant difference at the .01 level in overall and each aspect. 3. The results of the highest comments and suggestions about evaluation of Information system efficiency for academic administration in schools under Buriram Secondary Educational Service Area Office 32 revealed that 1) schools should develop learning resources in school and community for learning facilitation 2) the schools should have information system evaluation, and 3) there should provide handbooks for all curriculums in schools. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบิริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title การประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบิริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative Evaluation of Information System Efficiency for Academic Administration Development of Secondary Schools under Buriram Secondary Educational Service Area Office 32 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics