ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดร.โกวิท วัชรินทรางกูร en_US
dc.contributor.advisor ดร.ศรีเพ็ญ พลเดช en_US
dc.contributor.author ปราณี, รัตนธีระชัยกุล
dc.date.accessioned 2020-08-11T04:07:07Z
dc.date.available 2020-08-11T04:07:07Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6742
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1)ระดับปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผล ต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา 2)ระดับความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา4) ค้นหาตัวพยากรณ์ในการทำนายความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา5) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต2กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครู จำนวน 487คนได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 2ลักษณะ ได้แก่ แบบสำรวจรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า5ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างองค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการจูงใจ ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการติดต่อสื่อสาร 2. ระดับความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความพึงพอใจของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือด้านผลสัมฤทธิ์ ทางวิชาการของผู้เรียนส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านคุณลักษณะของผู้เรียน 3. ปัจจัยทางการบริหารทุกด้านมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิตที่ระดับ .01 4. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 คือ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านการจูงใจและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนด้านภาวะผู้นำ ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านงบประมาณ ด้านการพัฒนาบุคลากร ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และตัวแปรพยากรณ์ดังกล่าวสามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา ได้ร้อยละ 61.60 (R2 = 0.616) 5. สามารถสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 0.460 + 0.317(X6) + 0.224(X3) + 0.175(X7) + 0.116(X1) + 0.086(X5) - 0.081(X6) + 0.059(X8) - 0.003(X2) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = 0.325(ZX6) + 0.231(ZX3) + 0.197(ZX7) + 0.116(ZX1) + 0.088(ZX5) - 0.082(ZX6)+ 0.062(ZX8) - 0.003(ZX2) en_US
dc.description.abstract The purposesof this research were 1) to investigate the levels of administrative factors affecting success in management of schools,2) to investigate the levels of success in management of schools, 3) to study the relationship between administrative factors and success in management of schools,4) to find out predicted equation for success in management ofschools ; and 5)to establish predicted equation for success in management of schools underBuriram Primary EducationalService Area office 2. The samples consisted of 487 administrators and teachers, selected by using Krejcie and Morgan’s table and stratified random sampling.The instrument used in this study was a questionnaire comprised two parts : checklist and five - rating scale with reliability level of0.97. The statisticsused to analyze the collected data were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson Product Moment Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis. The results were as follows : 1. Administrative factors affecting success in managementof schools underBuriram Primary Educational Service Area office 2 was at a high levelin overall aspect. Having considered each aspect, it showed that the organization structure was ranked at the highest level, followed by motivation,atmosphere and culture of the organization, respectivelywhile communications was found at the lowest level. 2. The level ofsuccess in management of schools underBuriram Primary Educational Service Area office 2was, in overall aspect, at a high level. Having considered each aspect, it showed that thesatisfaction of the personnelwas ranked at the highest level, followed by academic achievementwhile theirstudent characteristicswas found at the lowest level. 3. All administrative factors had a positive relationship with success in management of schools underBuriram Primary Educational Service Area office 2 at the statistical significance of the .01level. 4. The variables that could predict the success in management of schools underBuriram Primary Educational Service Area office 2 at the statistical significance of the .01level were as follows :organization structure,motivation and information technology. In terms of leadership,atmosphere and culture of the organization,communications,budget, personnel development were not statistically different. These variables could be used together in order to predict their success in management of schoolsat 61.60 (R2 = 0.616). 5. The predicted equation can be established below. Predicted equation of raw scores : = 0.460 + 0.317(X6) + 0.224(X3) + 0.175(X7) + 0.116(X1) + 0.086(X5) - 0.081(X6) + 0.059(X8) - 0.003(X2) Predicted equation of standard scores : = 0.325(ZX6) + 0.231(ZX3) + 0.197(ZX7) + 0.116(ZX1) + 0.088(ZX5) - 0.082(ZX6)+ 0.062(ZX8) - 0.003(ZX2) en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 en_US
dc.title.alternative ADMINISTRATIVEFACTORSAFFECTINGSUCCESS INMANAGEMENT OF SCHOOLS UNDER BURIRAMPRIMARYEDUCATIONAL SERVICE AREAOFFICE 2 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics