ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32

Show simple item record

dc.contributor.author กิติวัชร, ถ้วยงาม
dc.date.accessioned 2017-09-02T05:02:18Z
dc.date.available 2017-09-02T05:02:18Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/644
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1.) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียน 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผลการประเมินผลการเรียนและการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2.) เพื่อประเมินความต้องการพัฒนาตนเองของครูใน 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การประเมินผล การเรียนและการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และ 3.)เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและการพัฒนาครูกลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา 304 คนซึ่งได้มาโดยตารางกำหนดขนาดกลุ้มตัวอย่างของเคจซี่และมอร์แกนและการสุ่มอย่างง่าย และผู้มีส่วนร่วมในการฝึกอบรม 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพการพัฒนาครู แบบสำรวจความต้องการพัฒนาครูซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.9831 และ 0.9828 ตามลำดับหลักสูตรฝึกอบรมครู แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ โครงการฝึกอบรมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบนเบี่ยง มาตรฐานค่าประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม และการทดสอบค่าที่ ผลวิจัยสำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการพัฒนาครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียนโดยรวม และรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง 2. ความต้องการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียน โดยรวม และรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง 3. หลักสูตรฝึกอบรมครูมีความเหมาะสมและสอดคล้องโดยรวมและรายด้านส่วนอยู่ในระดับมากและพบว่าหลักสูตรฝึกอบรมครูมีประสิทธิภาพ 83.65/80.32 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 และผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังฝึกอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้เข้าฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 อยู่ในระดับมากในทุกด้าน 4. การพัฒนาครูในโรงเรียนมัธยมศึกษามี 9 ขั้นตอน คือ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและเอกสารร่างและปรับปรุงตามแบบสอบถามสร้างแบบสอบถามการพัฒนาครูและความต้องการพัฒนาครูวิเคราะห์ข้อมูลสร้างและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมทดสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมร่างรูปแบบการพัฒนาครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา และปรับปรุงร่างรูแปบบการพัฒนาครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราฃภัฏบุรีรัมย์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ en_US
dc.title การพัฒนาครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 en_US
dc.title.alternative Teachers Development in Secondary Schools under the Secondary Educational Service Area Office 32 en_US
dc.type Thesis en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics