ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทปริทัศน์หนังสือ (Book Review) บันทึกการเดินทางของอ็องรี มูโอต์ ในสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่น ๆ : เรื่องของ “สยาม กัมพูชา ลาว” จากคำเล่า ของ “คนฝรั่งเศส”.

Show simple item record

dc.contributor.author ณภัทร เชาว์นวม, -
dc.date.accessioned 2020-03-19T10:34:32Z
dc.date.available 2020-03-19T10:34:32Z
dc.date.issued 2017-12
dc.identifier.citation รมยสาร ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม) : 229-241 en_US
dc.identifier.isbn 1686-0101
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5970
dc.description.abstract ในแวดวงประวัติศาสตร์ศึกษามักเชื่อถือและให้นํ้าหนักแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ หรือเอกสารอันเป็นแหล่งข้อมูลชั้นต้น ได้แก่ จารึก พงศาวดาร และเอกสารต่าง ๆ ที่บันทึกในช่วงสมัยนั้น ๆ หรือช่วงสมัยใกล้เคียง การศึกษาข้อมูลทาง ประวัติศาสตร์ของรัฐชาติที่มีลักษณะเป็นแบบแผนมักให้ข้อมูลเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับราชวงศ์และการเมืองการปกครอง ทั้งนี้ เหมือนว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงราว 10 ปีที่มีผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เริ่มตื่นตัวกับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ยิ่งขึ้น ส่งผลให้การบันทึกข้อมูลโดยบุคคลที่มาจากความเป็นอื่น (ต่างชาติพันธุ์ ต่างวัฒนธรรม ต่างทัศนะ) เป็นหนึ่งในข้อมูล ที่ได้รับความสนใจในแวดวงประวัติศาสตร์ศึกษาไม่น้อย แม้นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศาสตร์อื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้องยังไม่ยอมรับข้อมูลที่มาจากสายตาของ “คนนอก” บ้างก็อาจอยู่ในข่าย รับฟัง แต่ ไม่ยอมรับ หรือยอมรับได้เพียงบางข้อมูลก็ตาม แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าข้อมูลดังกล่าวนับเป็นข้อมูลที่น่าสนใจในแวดวงประวัติศาสตร์ โบราณคดี รวมถึง ศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องด้วยเป็นข้อมูลที่บันทึก ภาพ และ เหตุการณ์ โดยไม่ได้ถูกกำกับและจำกัดด้วยชุดความคิด ทางขนบ จารีต ประเพณี การ “เล่าเรื่อง” จึงต่างออกไปจากการเล่าเรื่องของ “คนใน” ซึ่งอาจถูกกำกับและจำกัดด้วยชุด ความคิดทางขนบ จารีต ประเพณี พาให้บดบังหรือบิดเบือนบางข้อมูลที่เป็นข้อมูลสำคัญไป บันทึกการเดินทางของ อ็องรี มูโอต์ ในสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่น ๆ มีคำโปรย หน้าปก ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ว่า อ่าน “ตะวันออก” จาก “คำบอก” ฝรั่ง เป็นเอกสารที่เกือบจะจัดได้ว่าเป็นเอกสารชั้นต้น ด้วยเพราะบันทึกการเดินทางของ อ็องรี มูโอต์ นักสำรวจผู้มีความรู้ด้านภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยาและกีฏวิทยาชาวฝรั่งเศส มา จากคำบอกเล่าบางส่วน (คะเนได้ว่าราวกึ่งหนึ่งก็อาจไม่คลาดเคลื่อนนัก) เป็นข้อมูลจากบันทึกและคำบอกเล่าของบุคคลที่ เขาได้เสพงานหรือได้สนทนาด้วย บันทึกที่นับได้ว่ามีส่วนเสริมแรงให้มูโอต์ใคร่ออกสำรวจดินแดนสยามและอาณาจักรใกล้ เคียง คือบันทึกของเซอร์จอห์น เบาริ่ง เรื่อง The Kingdom and People of Siam (ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม) ที่ ได้แสดงถึงภาพสังคม วัฒนธรรม ของราชอาณาจักรสยามในสมัยรัชกาลที่ 3 กระนั้น แม้จะเป็นบันทึกของผู้ที่ออกตัวว่า ตนเองไม่ใช่นักโบราณคดี หรือผู้วิเศษรอบรู้ อีกทั้งเป็นคำบอกเล่าที่มาจาก จากสายตาของ “คนนอก” แต่ก็อนุมานได้ว่า บันทึกของมูโอต์ที่แปลเป็นภาษาไทยจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส โดย กรรณิกา จรรย์แสง น่าจะมี ‘สาร’ สำคัญที่น่าค้นหา และชวนศึกษา เพราะในช่วง พ.ศ. 2558 มีการตีพิมพ์ถึง 2 ครั้ง ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน และตีพิมพ์ครั้งที่ 3 (ครั้ง ล่าสุด) ใน เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เมื่อเทียบช่วงเวลาที่มีการเผยแพร่แล้ว ถือเป็นสถิติการตีพิมพ์ที่แสดงให้เห็นว่ามีผู้ สนใจบันทึกของ “คนนอก” นี้ ไม่น้อย en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject - en_US
dc.title บทปริทัศน์หนังสือ (Book Review) บันทึกการเดินทางของอ็องรี มูโอต์ ในสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่น ๆ : เรื่องของ “สยาม กัมพูชา ลาว” จากคำเล่า ของ “คนฝรั่งเศส”. en_US
dc.title.alternative - en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor napat.ch@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics