ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ประสิทธิผลในการบริหารการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไชยา ยิ้ มวิไล en_US
dc.contributor.advisor ธิติ ศรีใหญ่ en_US
dc.contributor.author ชัชฎา ปัสบาล
dc.date.accessioned 2019-11-20T08:30:47Z
dc.date.available 2019-11-20T08:30:47Z
dc.date.issued 2018-12-11
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5829
dc.description ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2018 en_US
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลในการบริหารการศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารการศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารการศึกษา และ 4) หาแนวทางในการพัฒนาการบริหารการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา จำนวน 290 คน จากสถานศึกษา 39 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลวิ เคราะห์แบบสถิติพรรณนา วิเคราะห์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จานวน 15 คน จากผู้บริหารสถานศึกษาและคณะอนุกรรมการการบริหารงานบุคคลสาหรับข้าราชการครู ส่วนการตรวจสอบข้อมูลใช้วิธีแบบสามเส้าเพื่อให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารการศึกษาภาพรวมของปัจจัยการบริหารการศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยด้านปัจจัยผู้บริหารสถานศึกษาและด้านปัจจัยการบริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ในด้านปัจจัยผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย ด้านเจตคติ อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก สำหรับด้านปัจจัยการบริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ในด้านการบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารงานทั่วไป อยู่ในระดับมาก ส่วนประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ด้านความพึงพอใจในการทา งานของครู ด้านบรรยากาศในสถานศึกษาความก้าวหน้าในวิชาชีพครู ด้านการมีจิตมุ่งต่อองค์กร อยู่ในระดับมาก สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา พบว่า ทุกตัวแปรปัจจัยผู้บริหารสถานศึกษาและปัจจัยการบริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการบริหารการศึกษาทั้งหมด การบริหารสถานศึกษามุ่งเน้นกิจกรรมมากกว่าวิชาการ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำขาดวิสัยทัศน์ ตลอดจนขาดแคลนทรัพยากรในการบริหาร สาหรับแนวทางการพัฒนาเพิ่มประสิทธิผลคือ 1) ด้านวิชาการ ควรมีการจัดหลักสูตรสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น โดยครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน ควรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดคุณภาพและมีมาตรฐาน 2) ด้านงบประมาณ ควรมีการจัดการอย่างเป็นระบบ คล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และผลงาน 3) ด้านการบริหารงานทั่วไป ควรวางแผนและออกแบบการบริหารอย่างเป็นระบบโดยกำหนดระเบียบการปฏิบัติงานการประสานงาน การส่งเสริม การสนับสนุน และการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในองค์การ และจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้สาธารณชนได้รับทราบ ถึงการดำเนินงานเพื่อสาธารณะประโยชน์แก่สังคมและชุมชน en_US
dc.description.abstract This thesis studied (1) the effectiveness of educational administration (2) factors relating to the effectiveness of the effectiveness of educational administration (3) the relationship between factors influencing educational effectiveness and (4) finding appropriate solution to increase the effectiveness of educational administration of secondary educational institutions under the Sisaket provincial administration organization. Mixed research methods combining quantitative and qualitative research were used in this study. The sample in this study were from school administrators and teachers in 39 secondary schools with a sampling size of 290 persons using descriptive statistics, correlation analysis and multiple regression analysis. For the qualitative research, in-depth interviews were conducted from 15 key informants from school administrators and sub-committees of personnel administration for teachers. Triangulation data check was used for more reliability in this study. The study showed that the overall effectiveness of educational administration was rated high which contributed from the high rated in factors of educational management administrators and educational management. The educational management administrators were reflected from attitude, communication, human relations, vision and knowledge, respectively. The educational management was reflected from academic administration, budget management, personnel management and general administration. The effectiveness of educational administration of secondary educational institutions under the Sisaket provincial administration organization was high reflected from the high level of student achievement, job satisfaction of teachers, school atmosphere, teacher progress and focus on the organization, respectively. The study also found that the management emphasized contribution on activities rather than academic issues resulting in the lack of vision and administrative resources. The guidelines to increase effectiveness in this study were: 1) supply the needs of learners and locals by the communication between teachers, administrators, parents, and community leaders, 2) the budget should be managed in a systematic, flexible, transparent manner, focusing on achievement and work and 3) general administration should be planned and designed in a systematic management and allocates resources to improve innovation and technology. This includes public relations to disseminate information to the public to raise awareness of the public for the benefit of the community. en_US
dc.description.sponsorship วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ประสิทธิผล, การบริหาร, การศึกษา, องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ, Effectiveness, Educational, Administration, The Sisaket Provincial Administrative Organization en_US
dc.title ประสิทธิผลในการบริหารการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ en_US
dc.title.alternative The Effectiveness of Educational Administration in Secondary Basic Educational Institutions Under the Sisaket Provincial Administrative Organization en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์ en_US
dc.degree.level เอก en_US
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.contributor.emailauthor acw3443@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics