ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

โปรแกรมพัฒนาครูแบบบูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author เทพพร, โลมารักษ์
dc.date.accessioned 2019-09-09T10:56:40Z
dc.date.available 2019-09-09T10:56:40Z
dc.date.issued 2018-09-30
dc.identifier.citation โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ พ.ศ. 2561 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5521
dc.description.abstract ABSTRACT The purpose of this research was to (1) develop a professional development instructional program integrated science, technology, engineering, and mathematics (STEM) for developing in-service science teachers’ pedagogical content knowledge (2) assess teaching competencies and skills in 21st century according to implement the professional development instructional program Integrated STEM through workshop and following up by experts from faculty of Education, and (3) assess teaching competencies and skills in 21st century after implementing the professional development instructional program Integrated STEM. The rubric scoring assessment observational form was designed for classifying competencies’ levels of teaching and skills in 21st century. These levels were beginning, approaching proficient, proficient, and distinguished levels. The research findings revealed as follows: 1. The integrated science, technology, engineering, and mathematics (STEM) were highly recommended to use for developing in-service science teachers’ teaching competencies and skills in 21st century. 2. From experts’ evaluation, the results indicated that competencies’ levels of teaching and skills in 21st century in teaching and learning management of in-service science teachers was achieved as approaching proficient level (Mean = 2.48, S.D.=0.41)) in 5 aspects including --planning for STEM instruction, classroom environment and STEM classroom learning management, Strategies for encouraging student to learn effectively, feedback and assessment, and Teaching Reflection—with approaching proficient level of assessment. 3. The results of t-test one sample indicated that teachers' achievement score on content knowledge after implementing the integrated STEM program was higher than the criterion score of 75% at the 0.01 level of significance. Keywords: STEM education, Professional Development Program, Pedagogical Content Knowledge, Competencies of teaching and learning management บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างโปรแกรมพัฒนาครูแบบบูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ (2) นำโปรแกรมพัฒนาครูแบบบูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษา ไปใช้ในการสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณะครูในโรงเรียนกองทุนการศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 4 โรง ได้แก่ โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 5 โรงเรียนบ้านแท่นทัพไทย โรงเรียนบ้านน้อยหนองหว้า และโรงเรียนบ้านลำนางรอง ที่มีปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาและมีภาระงานสอนมากกว่า 1 รายวิชา ในระดับชั้นเดียวกัน โดยครูสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 30 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย โปรแกรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสะเต็ม แบบทดสอบวัดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้บ่งชี้ระดับระดับสมรรถนะด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนกำหนดไว้ 4 ระดับคือ ยอดเยี่ยม ชำนาญ เริ่มชำนาญ และเริ่มต้น ผลการวิจัย พบว่า 1. โปรแกรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสะเต็มมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูวิทยาศาสตร์ได้ 2. ผลการผลการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังการอบรม โดยใช้ผู้ประเมินที่เป็นอาจารย์นิเทศการสอนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จำนวน 3 ท่าน พบว่าสมรรถนะด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ ทั้ง 5 องค์ประกอบ มีผลการประเมิน (ค่าเฉลี่ยรายด้าน) เท่ากับ 2.48 (S.D.=0.41) ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพระดับเริ่มชำนาญ (Approaching Proficient) 3. การทดสอบหลังการฝึกอบรมด้วยโปรแกรมพัฒนาครูแบบบูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 62.23 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.04 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนสอบของครูหลังการฝึกอบรมพบว่าคะแนนสอบของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นคะแนนความรู้ด้านเนื้อหาวิทยาศาสตร์ของครู หลังหลังการอบรมสูงกว่าเกณฑ์ คำสำคัญ: สะเต็มศึกษา โปรแกรมพัฒนาครู ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ en_US
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ พ.ศ. 2561 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.relation.ispartofseries โครงการวิจัยโปรแกรมพัฒนาครูแบบบูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ (Professional Development Program Integrated Science, Technology, Engineering, and Mathematics Promoting 21st Century Instructional Skills for Education Development Foundation Schools, Buriram Province);
dc.subject สะเต็มศึกษา โปรแกรมพัฒนาครู ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ STEM education, Professional Development Program, Pedagogical Content Knowledge, Competencies of teaching and learning management en_US
dc.title โปรแกรมพัฒนาครูแบบบูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Professional Development Program Integrated Science, Technology, Engineering, and Mathematics Promoting 21st Century Instructional Skills for Education Development Foundation Schools, Buriram Province en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor tepporn.lm@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics