ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

พัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับบุคลากรการท่องเที่ยวหมู่บ้านไหมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่บ้านไหม บ้านชุมชนสายยาว ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ลิ้มศิริเรืองไร, พุทธชาด
dc.contributor.author เลิศเจริญวนิช, พัลลภา
dc.contributor.author รัตนวโรภาส, วริษฐา
dc.date.accessioned 2019-09-05T04:39:02Z
dc.date.available 2019-09-05T04:39:02Z
dc.date.issued 2019-09-05
dc.identifier.citation รายงานการวิจัย วช. 61 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5419
dc.description.abstract การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาในการสื่อสารภาษาอังกฤษและความต้องการนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวของบุคลากรการท่องเที่ยวของบ้านชุมชนสายยาว ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับบุคลากรการท่องเที่ยวหมู่บ้านไหมเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับบุคลากรการท่องเที่ยวหมู่บ้านไหมที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับบุคลากรการท่องเที่ยวหมู่บ้านไหมที่พัฒนาขึ้น 4) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม และ 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของบุคลากรการท่องเที่ยวของบ้านชุมชนสายยาว ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีต่อนวัตกรรมนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับบุคลากรการท่องเที่ยวหมู่บ้านไหมที่พัฒนาขึ้น ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรการท่องเที่ยวหมู่บ้านไหมบ้านชุมชนสายยาว จำนวน 34 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สำหรับการสนทนากลุ่ม ได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างย่อยจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 11 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว 2) แบบสนทนากลุ่ม 3) นวัตกรรม: ตัวเล่มคู่มือและคลิปเสียงในแผ่นซีดีจำนวน 1 ชุด 4) แบบประเมินนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวของบุคลากรการท่องเที่ยวของบ้านชุมชนสายยาว 5) แบบประเมินความสามารถด้านการฟังและการพูด และ 6) แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของบุคลากรการท่องเที่ยวของบ้านชุมชนสายยาวที่มีต่อนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการใช้ภาษาอังกฤษในภาพรวมในระดับมาก (4.45) และมีความคิดเห็นว่าทักษะการฟังมีความจำเป็นสำหรับบุคลากรการท่องเที่ยวมากที่สุด (4.91) ผู้สนทนาส่วนใหญ่ตอบว่ามีปัญหาด้านการสื่อสารเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในด้านการฟังและการพูด 2) ประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเท่ากับ 82.94/82.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 3) ดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.3190 หรือมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 31.90 4) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังใช้นวัตกรรมสูงกว่าก่อนใช้นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 5) ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับมากที่สุด (4.73) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในด้านรูปเล่มมากที่สุด (4.81) ตามด้วยด้านเนื้อหา (4.71) และด้านคลิปเสียงภาษาอังกฤษ (4.65) ตามลำดับ ส่วนนวัตกรรมที่ได้เป็นคู่มือพร้อมคลิปเสียงในแผ่นซีดี มีทั้งหมด 25 บทโดยมีเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มตัวอย่างเรียงลำดับจากง่ายไปยาก ในแต่ละบทประกอบด้วยบทสนทนา คำอ่าน และคำแปล พร้อมทั้งมีคำศัพท์และวลีที่มีประโยชน์ en_US
dc.description.abstract The objectives of this study were 1) to investigate problems in English communication and needs for innovation on tourism English communication for silk village tourism personnel, 2) to develop the tourism English communication innovation to test the efficacy of the developed innovation, 3) to find the effectiveness index of the developed innovation, 4) to study the learning achievement of the samples before and after using the developed innovation, and 5) to assess satisfaction toward the innovation. Population and sample group were 34 tourism personnel in the silk village which were selected by using a purposive sampling method. For focus group, there were 11 persons selected from the sample group by using Purposive Sampling. Research instruments used to collect the data were 1) questionnaire on problems in English communication and the needs of tourism English communication innovation, 2) focus group, 3) pre and post-test in evaluating the sample group’s abilities in using English before and after implementing the innovation, 4) the innovation: a handbook and sound clips in a CD, 5) evaluation form to assess the innovation and 6) questionnaire concerning the satisfaction of the sample group towards the innovation. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, Standard Deviation and t-test. And the qualitative data were analyzed by using content analysis. The result suggested that 1) the sample group needed tourism English communication innovation in high level (4.45). However, the highest need was in listening skill (4.91). Moreover, the result from the focus group showed that listening and speaking skill were the most problematic. 2) The efficiency of the developed innovation was 82.94/82.84, which as higher than the criteria of 80/80. 3) The efficiency index of the developed innovation was 0.3190 or learning progress was 31.90 percent. 4) In addition, the data collected form pre and post-test suggested that the sample group got significantly higher score in the post-test at level of significance of 0.01. 5) For their satisfaction, the result revealed the highest level of satisfaction (4.73) with the design of the handbook at the highest level (4.81), the content (4.71) and the English sound clips (4.65), respectively. The developed innovation consisted of a handbook and sound clips in a CD with 25 units in total. The content of the innovation was in line with the needs of the users arranged from easy topics to more difficult topics. There were conversations, phonetics, and translation including useful vocabulary and phrases in each unit. en_US
dc.description.sponsorship วช. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.relation.ispartofseries 75;2561
dc.subject นวัตกรรม ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว บ้านชุมชนสายยาว en_US
dc.subject Innovation, Tourism English Communication, Sai Yao Community Silk Village en_US
dc.title พัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับบุคลากรการท่องเที่ยวหมู่บ้านไหมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่บ้านไหม บ้านชุมชนสายยาว ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Development of Innovation on Tourism English Communication for Silk Village Tourism Personnel to Enhance Tourism in Sai Yao Community Silk Village, Thalunglek Sub district, Muang District, Buriram Province en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor puttachart.ls@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics