ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชาสุนทรียศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา : นักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2556

Show simple item record

dc.contributor.author ธงรบ, ขุนสงคราม
dc.date.accessioned 2019-08-09T03:48:03Z
dc.date.available 2019-08-09T03:48:03Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.citation รมยสาร, ปีที่ 13, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2558): หน้า 203 - 214 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5242
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชาสุนทรียศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในประเด็นดังนี้ 1) ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน 2) ด้านผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐาน 3) ด้านบุคลากรสายผู้สอน [ดนตรี (โสตศิลป์), นาฏศิลป์, ทัศนศิลป์] และ 4) ด้านสื่อการเรียนการสอน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สร้างแบบสอบถามจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 ประเมินความเหมาะสมของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ และปรับปรุงแบบสอบถามให้มีความเหมาะสม ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความเป็นไปได้ของแบบสอบถามจากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษาภาคปกติ ปีการศึกษา 2556 จำนวน 683 คน ได้มาโดยวิธีการแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .8267 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาสรุปและอภิปรายผลข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า : 1. จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 683 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศหญิง ร้อยละ 68.4 และเพศชาย ร้อยละ 31.6 มีอายุระหว่าง 17-19 ปี ร้อยละ 74.7 และอายุระหว่าง 20-23 ปี ร้อยละ 25.3 ระดับการศึกษาชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 42.8 ชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 31.9 และชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 25.3 ศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1/2556 ร้อยละ 57.2 และภาคการศึกษาที่ 2/2556 ร้อยละ 42.8 สาขาวิชาที่ศึกษามากที่สุดคือ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ร้อยละ 34.7 รองลงมาคือ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม ร้อยละ 32.0 และน้อยที่สุดคือ สาขาวิชาภาษาอังกฤธุรกิจ ร้อยละ 7.0 โดยสังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มากที่สุด ร้อยละ 89.5 และคณะวิทยาการจัดการ ร้อยละ 10.5 2. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชาสุนทรียศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่าในด้านหลักสูตรการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก (= 3.81, S.D. = 0.71) ในด้านผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.02, S.D.= 0.73) ในด้านบุคลากรสายผู้สอน อยู่ในระดับมากทางดนตรี (โสตศิลป์) ( = 4.06, S.D. = 0.73) ทางนาฏศิลป์ ( = 4.07, S.D. = 0.70) ทางทัศนศิลป์ ( = 3.89, S.D. = 0.77) และในด้านสื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก ( = 4.02, S.D. = 0.73) 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 3.1 ด้านหลักสูตรการเรียนการสอนและด้านผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐาน พบว่าหลักสูตรมีความครอบคลุมในเนื้อหาได้ดี ผู้เรียนได้รับรู้เกี่ยวกับความงามของศิลปะทั้ง 3 ศาสตร์ ทั้งด้านดนตรี (โสตศิลป์) นาฏศิลป์ และทัศนศิลป์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เวลาเรียน 5 สัปดาห์ น้อยไปเพราะเนื้อหาแต่ละศาสตร์มากจึงทำให้ผู้เรียนจำแนกเนื้อหาไม่ได้ อาจารย์ผู้สอนมีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย ในระหว่างเรียนผู้เรียนผู้สอนช่วยกันแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และเน้นคุณธรรมจริยธรรม ทั้งนี้ รายวิชาสุนทรียศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย 3.2 ด้านบุคลากรสายผู้สอน พบว่าอาจารย์ผู้สอนมีการเตรียมการสอนที่ดี มีการอธิบายแผนบริหารการสอนและจุดประสงค์ของรายวิชา เป็นอย่างดี อาจารย์ผู้สอนมีมนุษยสัมพันธ์ดี มีกิริยาวาจา ท่าทางในขณะสอนอย่างเหมาะสม เคร่งครัดในการเข้าเรียน การตรงต่อเวลา เน้นการแต่งกายถูกระเบียบในชั้นเรียน แต่ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามแสดงความคิดเห็นน้อยเกินไป ผู้เรียนสับสนเวลาเรียนของผู้สอนแต่ละศาสตร์สาขาวิชา และอยากให้รายวิชานี้มีผู้สอนเพียงคนเดียว 3.3 ด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่า สื่อการเรียนการสอนบางศาสตร์สาขาวิชาน้อยไป และสื่ออุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนยังไม่เพียงพอ ต่อจำนวนนักศึกษา en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชาสุนทรียศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา : นักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2556 en_US
dc.title ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชาสุนทรียศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา : นักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2556 en_US
dc.title.alternative Opinions of students on the Aesthetics and Local Wisdom courses : A case study of Regular students of Buriram Rajabhat University in the academic year 2013 en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics