ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าไหม

Show simple item record

dc.contributor.advisor กิ่งแก้ว ปะติตังโข/นลินทิพย์ พิมพ์กลัด en_US
dc.contributor.author นงลักษณ์, ทองศรี
dc.contributor.author กิ่งแก้ว, ปะติตังโข
dc.contributor.author นลินทิพย์, พิมพ์กลัด
dc.date.accessioned 2019-07-11T14:42:37Z
dc.date.available 2019-07-11T14:42:37Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5089
dc.description ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์และ 3) พัฒนารูปแบบการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจ: ชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธีประชากรคือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 144 กลุ่มกลุ่มตัวอย่าง: ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิในอัตราร้อยละ 50 ได้จำนวน 72 กลุ่มการเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากการศึกษาเอกสารการสังเกตการสัมภาษณ์เชิงลึกการศึกษาพหุกรณีและแบบสอบถามโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์เนื้อหามาพัฒนารูปแบบการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและมีการตรวจสอบข้อมูลจากแบบประเมินความเหมาะสมในการนำไปใช้ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญหาการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์ด้านการจัดการการผลิตอยู่ในระดับมากรองลงมาคือด้านการจัดการการตลาคด้านการจัดการการเงินและการบัญชีด้านการจัดการระบบสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลางและด้านการบริหารองค์การด้านการจัดการการวิจัยและพัฒนาอยู่ในระดับน้อย 2. ความต้องการในการพัฒนาการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์ด้านการจัดการการผลิตอยู่ในระดับมากรองลงมาคือด้านการจัดการการตลาดด้านการจัดการเงินและการบัญชีด้านการจัดการระบบสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลางและด้านการบริหารองค์การค้านการจัดการการวิจัยและพัฒนาอยู่ในระดับน้อย 3. รูปแบบการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์คือ 1) รูปแบบการจัดการการผลิตควรวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีเอกลักษณ์และแตกต่างคำเนินการตามแผนและควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานโดยผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานภายนอกและรักษาสิ่งแวดล้อมทางการผลิต 2) รูปแบบการจัดการการตลาดควรรวบรวมผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างตามความต้องการของลูกค้ากำหนดราคาขายที่เหมาะสมขยายช่องทางการจำหน่ายและมีการส่งเสริมการตลาด 3) รูปแบบการจัดการเงินและการบัญชีควรวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวโดยจัดหาและจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพติดตามกำกับดูแลการเงินตามแผนการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานด้วยระบบบัญชี en_US
dc.description.sponsorship มหาวิทยาลัยบุรีรัมย์ en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title รูปแบบการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าไหม en_US
dc.title.alternative The management model of small and micro community enterprise of silks product groups in buriram province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline ภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ en_US
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics