ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา

Show simple item record

dc.contributor.author พระครูปริยัติธรรมวิบูล (ชวีอิสฺสโร)
dc.contributor.author พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ
dc.contributor.author ลำพอง, กลมกูล
dc.date.accessioned 2019-06-18T03:05:51Z
dc.date.available 2019-06-18T03:05:51Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.citation รมยสาร, ปีที่ 16, ฉบับพิเศษ (ม.ค. - เม.ย. 2561) : หน้า 413 - 430 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4780
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยาระยะที่ 2 วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา และระยะที่ 3 นำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แนวคำถามในการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อ สรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 1) ความรู้สึกต่อชีวิต คู่ชีวิต บุตรหลานหรือบุคคลสำคัญของชีวิต 2) ความผาสุกในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน และ 3) ความผาสุกในการมีศาสนายึดมั่นการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุมี 2 ด้าน คือ 1) ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ประกอบด้วย 1.1) การใช้เวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว 1.2) การพูดคุย ปรึกษาหารือ และตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ ของสมาชิกในครอบครัว 1.3) การแสดงออกซึ่งความรักและความเอื้ออาทรกันทั้งทางกาย วาจา และใจของสมาชิกในครอบครัว 1.4) การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมของสมาชิกในครอบครัว และ 2) ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน 2. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา พบว่า 1) ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก (  = 4.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับค่าเฉลี่ยระดับสูงสุด คือ การพูดคุย ปรึกษาหารือและตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ ของสมาชิกในครอบครัว 2) ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก (  = 4.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อมีระดับค่าเฉลี่ยระดับสูงสุด คือการให้ความสำคัญกับความรู้สึกของเพื่อนเสมอ จากการวิเคราะห์ตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัวประกอบด้วย ด้านการพูดคุยปรึกษาหารือ หรือตัดสินในเรื่องสำคัญต่าง ๆ ด้านความสำคัญกับเพื่อน ด้านการใช้เวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิก และด้านการแสดงออกซึ่งความรัก มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงคือ .787 และตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัว อธิบายความผันแปรที่เกิดขึ้นของระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณ ได้ร้อยละ 61.9 3. รูปแบบการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยที่เอื้อต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน 2) แนวทางการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ 8 แนวทางคือ 1) แนวทางส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวรับประทานอาหารร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ 2) แนวทางส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวทำงานบ้านร่วมกัน 3) แนวทางส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวทำกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน 4) แนวทางส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวออกกำลังกายและเล่นกีฬาร่วมกันกับผู้สูงอายุ 5 )แนวทางสนับสนุนสมาชิกในครอบครัวพักผ่อนหย่อนใจนอกบ้านร่วมกับผู้สูงอายุ 6) แนวทางส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวพาผู้สูงอายุไปเยี่ยมญาติมิตรและเพื่อนต่างจังหวัด 7) แนวทางสนับสนุนสมาชิกในครอบครัวร่วมพิธีกรรมหรืองานบุญในโอกาสต่างๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการนำหลักพุทธธรรมมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต และ 8) แนวทางส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะและ 3) การประยุกต์หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ในด้านความรู้สึกต่อชีวิต ด้านความผาสุกในสิ่งที่เป็น ด้านความผาสุกในศาสนาที่ยึดมั่น" en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were 1) to study factors to towards the spiritual well-being of the elder in Buddhist Psychology, 2) to study level of the spiritual well-being of the elder in Buddhist Psychology, 3) to propose a promoting model of the spiritual well-being of the elder in Buddhist Psychology. Mixed methods research was used for research design including quantitative research and qualitative research and was divided into three phases of studying. The first phase was factors towards the spiritual well-being of the elder. The second phase was level of the spiritual wellbeing of the elder in Buddhist psychology, and the third phase was guidelines to enhance the spiritual well-being of older on Buddhist Psychology.The population of this research was elders in Buriram Province. Interview questions and questionnaires were used for research tools.Quantitative data was analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. Content analysis and analytic induction were used for qualitative data. The research results were as follows: 1. Factors found two factors consisted of 1) the aspect of spiritual well-being factor of elder which were 1.1) feeling towards life, partner and children, 1.2) the well-being of the current being, 1.3) the well-being of a religious adherence. 2) The aspect of family relationship factor which were 2.1) spend time on doing activity within the family, 2.2) discuss and decide important matters with the family members, 2.3) express love and generosity to family members with body, verbal and mind, 2.4) practice appropriate roles of family members, and 2.5) have relationship with friends. 2. Level of a spiritual well-being of elder on Buddhist psychology indicated that 1) an overall average for level of a spiritual well-being of elder was high level (  = 4.35). Considering in each aspect showed that the highest level was shown in two aspects which were the aspect of Vol. 16 Special Issue (January-April) 2018 R feeling towards life, partner and children, and the aspect of the well-being of a religious adherence. 2) The overall average for level of a family relationship was high level (  = 4.31). Considering in each item showed that the highest level was shown in two items which were always give an important feeling to friends and they were trusting each other. Analysis of the four independent variables, the scores were discussed, discussed, or judged on important issues. Score on the time spent doing activities together members. And the expression of love. The 787 independent variables explain the variation of the degree of spiritual well-being by 61.9 percent. 3. An encouragement model of spiritual well-being of elder on Buddhist psychology consisted 3 components. The first component was two factors support spiritual well-being which were family relationship and friend relationship. The second component was to apply bass of meritorious action on the aspect of feeling towards life, the well-being of present life, and the wellbeing of religious respect. The third component consisted of eight guidelines which were (1) guideline to promote family members having meal together, (2) guideline for promoting family members joining housework, (3) guideline for promoting family members joining hobby, (4) guideline of promoting family members doing exercise and playing sport with elders, (5) guideline for supporting family members to relax outside with elders, (6) guideline for promoting family members to take elder visiting relatives and friends, (7) Guideline of supporting family members to join in religious ceremony that would help elders to apply Dhamma in daily life, and 8) guideline for promoting family members to join in volunteer activities. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject รูปแบบการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา en_US
dc.title รูปแบบการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา en_US
dc.title.alternative A Model of Promoting the Spiritual Well-Being of the Elder in Buddhist Psychology en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics