ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดหมี่ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ณฐปกรณ์, จันทะปิดตา
dc.date.accessioned 2017-10-16T04:02:58Z
dc.date.available 2017-10-16T04:02:58Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2996
dc.description บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดหมี่ อำเภอ นาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มสตรีแม่บ้าน อำเภอนาโพธิ์และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์ ที่เป็น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้ใช้สินค้า ๙ กลุ่มๆ ละ ๔ คน สุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดโครงสร้าง โดยการสนทนาแบบ เจาะลึก ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เรียงลำดับข้อมูลจากความถี่มากไปหาความถี่น้อย ใช้สถิติร้อยละ แล้วนำเสนอข้อมูลแบบบรรยาย (Descriptive) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ๑. สภาพปัจจุบันคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดหมี่ พบว่า ๑.๑ ลักษณะคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ภายในกลุ่มในปัจจุบัน เกิดจาก การใช้ฝีมือผู้ ทอซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้จากบรรพบุรุษ การเลือกวัตถุดิบ กระบวนการผลิต คำนึงถึงความพึง พอใจของผู้ซื้อ ๑.๒ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ของกลุ่ม ได้แก่ เงินทุน วัตถุดิบ สถานที่ผลิต วิธีการผลิต อุปกรณ์ เครื่องมือและสาธารณูปโภค ๒. การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดหมี่ เกิดจาก ๒.๑ ข้อกำหนดการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดหมี่ภายในกลุ่ม ได้แก่ การปรับปรุง รูปแบบผลิตภัณฑ์ การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ การหาข้อมูลความต้องการผ้ามัดหมี่จากผู้ ซื้อ การตรวจสอบและทดสอบผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จแล้ว ๒.๒ กระบวนการการผลิตชุมชนผ้ามัดหมี่ของกลุ่ม ได้แก่ มีการออกแบบผ้ามัดหมี่ ตามลักษณะที่กำหนดไว้ มีการคัดเลือกวัตถุดิบ มีการตรวจสอบการทอและตรวจสอบผ้ามัดหมี่สำเร็จรูป มีการถามความพึงพอใจของผู้ซื้อหรือผู้ใช้ และมีการกำหนดคุณลักษณะผ้ามัดหมี่ ๒.๓ วิธีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ที่สำเร็จรูป ได้แก่ เนื้อผ้าต้องสม่ำเสมอ เส้นด้ายที่ทอจะต้องชิดแน่นทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง ลายต้องไม่ขาดหรือผิดไปจากรูปแบบ สีไม่มีรอยด่าง รอยเปื้อน รอยต่อของสีไม่ปรากฏรอยซึมเข้าไปตรงส่วนที่มัดหมี่ ความเลื่อมของลายเด่นชัด สวยงาม มี การบรรจุผลิตภัณฑ์ที่เรียบร้อย สะอาดและสามารถป้องกันความเสียหายได้ ๓. ผลของการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่ พบว่า ๓.๑ ผลต่อการดำเนินงาน ได้แก่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ได้สินค้าที่มี คุณภาพ เหมาะสมกับราคา คุ้มค่ากับการนำไปใช้งาน สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมและ เศรษฐกิจของประเทศ ๓.๒ ผลต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สภาพอากาศไม่ดี สภาพน้ำเสีย เกิดสารเคมีตกค้างใน ชุมชน ๓.๓ ผลต่อความเข้มแข็งของกลุ่ม ได้แก่ มีการสร้างจิตสำนึกให้ทุกฝ่ายเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน ได้ค่าตอบแทนจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นธรรม มีการคุ้มครองและให้สวัสดิการด้าน ต่างๆ ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากองค์กรภายนอก en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การควบคุมคุณภาพ en_US
dc.subject ผ้ามัดหมี่ en_US
dc.subject มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน en_US
dc.subject ผลิตภัณฑ์ชุมชน en_US
dc.subject Quality Control en_US
dc.subject Pha Mud Mee en_US
dc.subject Standard Community Product en_US
dc.subject Community Product en_US
dc.title การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดหมี่ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative THE QUALITY CONTROL OF COMMUNITY PRODUCT PHA MUD MEE CLOTH, IN NAPO DISTRICT, BURIRAM PROVINCE en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics