ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนประจำตำบล : กรณีศึกษาตำรวจชุมชนประจำตำบล จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จรัส สว่างทัพ en_US
dc.contributor.advisor อนันต์ ลิขิตประเสริฐ en_US
dc.contributor.advisor สุริยา รักการศิลป์ en_US
dc.contributor.author สุทิน, หวังกลับ.
dc.date.accessioned 2017-10-02T04:12:08Z
dc.date.available 2017-10-02T04:12:08Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2779
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนประจำตำบล ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการควบคุมและการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ด้านประชาสัมพันธ์และการแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน โดยเปรียบเทียบความแตกต่างด้านปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยภายนอกของตำรวจชุมชนกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนประจำตำบล ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนกับประสิทธิผลของการปฏิบัตงานตำรวจชุมชนประจำตำบล วิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยภายนอกของตำรวจชุมชนที่มีต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชนประจำตำบล ปัจจัยด้านการติดต่อประสานงานและแหล่งข่าวสารระหว่างประชาชนกับตำรวจชุมชนที่มีผลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนประจำตำบล ประชากร ได้แก่ ตำรวจชุมชนประจำตำบล เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงานตำรวจชุมชน ราษฎรอาสาสมัคร และประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบตำรวจชุมชนประจำตำบล 11 อำเภอ 21 สถานี จำนวน 76,209 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 187 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกำหนดโควตาตำรวจชุมชนประจำตำบล จำนวน 21 สถานีเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนประจำตำบล จำนวน 22 คน ราษฏรอาสาสมัครตำรวจชุมชนประจำตำบลจำนวน 55 คน และประชาชนในพื้นที่ตำรวจชุมชนประจำตำบล จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์มี 3 ลักษณะคือ แบบเลือกตอบ แบบประมาณค่า 5 ระดับและแบบปลายเปิด แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจและราษฎรอาสาสมัคร ผู้ปฏิบัติงานตำรวจชุมชนประจำตำบล โดยได้ทดสอบค่าความเชื่อมั่นแล้ว มีค่าความเชื่อมั่น 0.9508 ชุดที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์สำหรับประชาชนในโครงการตำรวจชุมชนประจำตำบล โดยได้ทดสอบค่าความเชื่อมั่นแล้ว มีค่าความเชื่อมั่น 0.9639 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test, f-test และ Multiple Regression Analysis (MRA) ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยครั้งละคู่ โดยวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการศึกษาพบว่า 1. การวิเคราะห์ความแตกต่างด้านปัจจัยส่วนบุคคล (ลักษณะทางประชากร) ของตำรวจชุมชนกับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนประจำตำบล พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของตำรวจชุมชน (อายุ ตำแหน่ง และภาษาที่ใช้) ที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชนประจำตำบลต่างกัน 2. การวิเคราะห์ความแตกต่างด้านปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนกับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนประจำตำบล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน (เพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน สถานภาพ ตำแหน่ง และภาษาที่ใช้) มีผลประสิทธิผลการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชนประจำตำบลไม่แตกต่าง 3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างปัจจัยภายนอกของตำรวจชุมชนกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชนประจำตำบล พบว่า ปัจจัยภายนอกของตำรวจชุมชนด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน นโยบายการบริหารงาน ลักษณะงาน ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยง เงินเดือนและสภาพการทำงาน มีความแตกต่างกันในเรื่องความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชนประจำตำบล 4. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยภายนอกของตำรวจชุมชนและปัจจัยภายนอกของประชาชนที่มีอิทธิผลการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชนประจำตำบล มีอัตราความสัมพันธ์ทั้งหมดอยู่ในระดับต่ำและต่ำมาก 5. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านแหล่งข่าวสารที่ได้รับจากตำรวจชุมชนประจำตำบลที่มีอิทธิผล ต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของตำรวจชุมชนประจำตำบลโดยรวม พบว่าไม่มีตัวแปรอิสระคู่ใดที่มีความสัมพันธ์กันสูง ซึ่งอัตราความสัมพันธ์ทั้งหมดอยู่ในระดับต่ำและต่ำมาก โดยความสัมพันธ์ในเชิงลบ 6. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนประจำตำบล ตามความคิดเห็นของตำรวจชุมชนประจำตำบลและประชาชน ได้แก่ งบประมาณควรพิจารณาจัดสรรเพิ่มขึ้น ควรส่งเสริมสนับสนุนการเข้าอบรมสัมมนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ แนวปฏิบัติ ข้อกฎหมายต่างๆอยู่เสมอ มีการประชาสัมพันธ์และประสานความร่วมมือกับทุกส่วนทุกฝ่ายเพื่อความเข้าใจอันดีต่อกันและเพื่อประสิทธิผลต่อการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนประจำตำบล ตามลำดับ en_US
dc.description.sponsorship The purpose of this study was to in investigate factors influencing the effectiveness of district community police in the following areas : general administration, providing criminal justice, keeping lift and property safe, controlling and providing convenience in traffic, and giving information and looking for cooperation from people. The study was done through comparing the differences between personal factors and external factors of community police and the working efficiency of district community police, analyzing the relation of community police’s external factors with the working effectiveness of district community police, and coordination factors and information resources between people and community police affecting the working efficiency of district police. The participants of this study were 76,290 district community police, police officers who work as community police, and people living in the area of district community police’s responsibility (11 districts, 21 police stations). The sample of these participants were 187 persons who were recruited by purposive samplings. The specified quota for samples were 21 police stations of district community police, 22 district community police, 55 district community volunteered police people, and 110 people in those districts. The research instruments included 3 different interview forms : questions with choices, questions with 5 rating scales, and open-ended questions. The interview form was into 2 different copies. The copy was police officers, volunteered peple, and the district community police, and the reliability of this interview form was 0.9508. The second copy was for people in the district community police project and its reliability was 0.9639. The statistic employed to analyze the data were frequency , percentage, and standard deviation. The hypotheses were tested by t-test, F-test, and multiple regression analysis. The least significance difference was used to investigate the difference between the mean of each pair. The researcher found that: 1. Analyzing the differences of personal factors (population characteristics) of community police and the working performance of district community police, it was found that the different employed personal factors ( age, language) had differently affected the working proficiency of district community police. 2. Analyzing the different personal factors of the people and working performance of district community police, the researcher found that the employed personal factors of people (sex, age, education, career, salary, status, working position, and language) had not affected differently the proficiency of district community police. 3. Analyzing the differences between external factors of community police and the working performance of district community police, the researcher found that external factors of community police in the relationship with co-workers, working administration policy, job description, wages, salary, and working condition had different opinions on working proficiency of district community police. 4. Analyzing the relationship of community police’s external factors and external factors of people which had influence on total working performance of district community police, the researcher found that the relation was at the low level and very and level respectively. 5. Concerning the relationship between the information variable received from district community police and had an influence on total working performance of district community police, the researcher found that there were no pairs of independent variables which indicated high relationship. The total rates of relation were low and very low and they indicated a negative relation. 6.The opinions and suggestions about factors affecting the working proficiency of district community police as perceived by the district community police and people were that the budgets available should be increased, the police and people should be supported and encouraged to always participate in the seminars about regulations, directions, and variety of laws, and there should be public relation and coordination between every group of people and all departments for better understanding and for the working performance of district community police consecutively en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject Process Title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนประจำตำบล : กรณีศึกษาตำรวจชุมชนประจำตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนประจำตำบล : กรณีศึกษาตำรวจชุมชนประจำตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Factors influencing on the effectiveness of commuity police performance : A case study of community police of Local Area of Buriram Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics