ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิราณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor ประคอง กาญจนการุณ en_US
dc.contributor.advisor มาลิณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.author สุภณ, ดีสุทธิ์
dc.date.accessioned 2017-10-02T04:02:20Z
dc.date.available 2017-10-02T04:02:20Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2773
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ที่มีต่อการดำเนินงานปฎิรูปการศึกษา จำแนกตามสถานภาพและระดับช่วงชั้นที่เปิดสอน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้อำวยการโรงเรียน จำนสน 136 คน และครูจำนวน 335 คน รวมทั้งหมด 417 คน ได้จากการสุ่มจากประชากร โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie&Morgan ) แล้วทำการสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดของสถานศึกษา (Stratifird Random Sampling ) แล้วทำการสุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการทดสอบสมมติฐานใช้ค่า t- test , F- test และเมื่อพบความแตกต่างจะเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ( Scheffe Method ) โดยกำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครู โดยรวม พบว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฎิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นเช่นกัน 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูเกี่ยวกับการดำเนินงานปฎิ รูปการศึกษา จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฎิบัติไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกัน เช่นเดียวกัน โดยผู้อำนวยการโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นสูงกว่าครู 3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูเกี่ยวกับการดำเนินงานปฎ รูปการศึกษา จำแนกตามระดับช่วงชั้นที่เปิดสอน พบว่าโดยรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการปฎิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่พบว่าโรงเรียนที่เปิดสอนระดับช่วงชั้นที่ 1-3 กับโรงเรียนที่เปิดสอนระดับช่งชั้นที่ 3-4 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฎิบัติแตกต่างกันอย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานปฎิรูปการศึกษา ตามความคิดเห็นของ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู ได้แก่ โรงเรียนควรกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการปฎิรูปการศึกษาอย่างเร่งด่วน โรงเรียนควรกำหนดนโนบาย แนงทางการปฎิบัติการปฎิรูปการศึกษาอย่างชัดเจนผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้ร่วมดำเนินการ ผู้บริหารต้องร่วมกับครูในการพัฒนาระบบการศึกษา มีการนำผลการปฎิรูปการศึกษาไปพัฒนาการเรียนการสอน และโรงเรียนควรได้รับการช่วยเหลือเกี่ยวกับการดำเนินการปฎิรูปการศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 en_US
dc.title การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 en_US
dc.title.alternative The Educational Reform Implementation of Schools Under Buriram Educational Service Area Office 4 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics