ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการเปรียบเทียบการให้คำปรึกษากลุ่มระหว่างทฤษฎียึดผู้รับคำปรึกษาเป็นศูนย์กลาง กับ การใช้ดนตรีบำบัด ที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา

Show simple item record

dc.contributor.author จตุรพร, ศุกรนันทน์
dc.date.accessioned 2017-09-27T06:32:13Z
dc.date.available 2017-09-27T06:32:13Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2406
dc.description.abstract บทคัดย่อ ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ โดยผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ใน สถานสงเคราะห์คนชราจะมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้สูงอายุทั่วไป การช่วยเหลือโดยการให้คำปรึกษา กลุ่มเป็นอีกแนวทางที่สามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มี ความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการให้คำปรึกษากลุ่มระหว่างทฤษฎียึดผู้รับคำปรึกษาเป็น ศูนย์กลางกับการใช้ดนตรีบำบัด ที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา เครื่องมือ ที่ใช้ ได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์เพื่อคัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า สถานสงเคราะห์คนชรา บ้าน มหาสารคาม ที่ประกอบด้วย แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย (Thai Geriatric Depression Scale - TGDS) พัฒนาโดยกลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง และแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ 2. โปรแกรม การให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดผู้รับคำปรึกษาเป็นศูนย์กลาง 3. โปรแกรมการให้คำปรึกษา กลุ่มโดยการใช้ดนตรีบำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านมหาสารคาม ที่มีภาวะซึมเศร้าจากการประเมินด้วยแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย แล้วคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดผู้รับคำปรึกษาเป็น ศูนย์กลาง กลุ่มที่ 2 ได้รับการให้คำปรึกษากลุ่มโดยการใช้ดนตรีบำบัด ดำเนินการทดลองกลุ่มละ 5 สัปดาห์ โดยจัดโปรแกรมละ 9 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที ทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบ 2 กลุ่ม วัด 2 ครั้ง (Pretest-Posttest Two Group) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผู้สูงอายุที่ได้รับการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดผู้รับคำปรึกษาเป็นศูนย์กลาง มีภาวะซึมเศร้าลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้สูงอายุที่ได้รับการให้คำปรึกษากลุ่มโดยการใช้ดนตรีบำบัด มีภาวะซึมเศร้าลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เมื่อทำการเปรียบเทียบผลการทดลองระหว่างกลุ่ม พบว่าผู้สูงอายุทั้งสองกลุ่ม มีภาวะซึมเศร้าลดลงไม่แตกต่างกัน โดยสรุป การให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎียึดผู้รับคำปรึกษาเป็นศูนย์กลาง และการ ให้คำปรึกษากลุ่มโดยการใช้ดนตรีบำบัดเป็นวิธีการที่สามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ en_US
dc.subject ภาวะซึมเศร้า en_US
dc.subject การให้คำปรึกษา en_US
dc.subject ทฤษฎียึดผู้รับคำปรึกษาเป็นศูนย์กลาง en_US
dc.subject ดนตรีบำบัด en_US
dc.subject Elderly en_US
dc.subject depression en_US
dc.subject counseling en_US
dc.subject client-centered therapy en_US
dc.subject music therapy en_US
dc.title ผลการเปรียบเทียบการให้คำปรึกษากลุ่มระหว่างทฤษฎียึดผู้รับคำปรึกษาเป็นศูนย์กลาง กับ การใช้ดนตรีบำบัด ที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา en_US
dc.title.alternative A COMPARATIVE EFFECT OF GROUP COUNSELING BETWEEN CLIENT-CENTERED THERAPY AND MUSIC THERAPY ON DEPRESSION OF ELDERLY IN NURSING HOME en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics