ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาะปัญหาและแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ (4063206)

Show simple item record

dc.contributor.author รุ่งเรือง บุญส่ง
dc.date.accessioned 2017-09-22T03:16:08Z
dc.date.available 2017-09-22T03:16:08Z
dc.date.issued 2013
dc.identifier.citation โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัยม์ en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2248
dc.description.abstract การวิเคราะห์คุณภาพน้ำเป็นรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีและปฏบัติควบคู่กันไปเพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการทดลองทางวิทยาศาสตร์ แต่เนื่องด้วยเนื้อหารายวิชามีความซับซ้อน จึงทำให้นักศึกษาใช้เวลาในการปฏิบัติการนาน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณืเป็นเครื่องมือในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชั้นปีที่ 4 จำนวน 90 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ เวลาสอนภาคปฏิบัติการน้อยเกินไป จำนวนนักศึกษาต่อกลุ่มมากเกินไปทำให้นักศึกษาที่เรียนอ่อนไม่กล้าทดลอง ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ ขาดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเตรียมสารเคมีและวัสดุอุปกรณ์สำหรับการทดลองไม่เพียงพอ ขนาดของห้องปฏิบัติการไม่เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน สภาพแวดล้อมห้องปฏิบัติการไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน ปัญหาการวัดผลและประเมินผลได้แก่ ไม่มีการวัดผลก่อนและหลังเรียนแต่ละบท และการทดสอบทักษะการใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง นักศึกษาไม่สามารถค้นคว้าบทความทางวิชาการด้วยตนเองบนฐานขู้ลมูลอินเตอร์เน็ต ปัญหาด้านอาจารย์ ได้แก่ พูดเร็วทำให้นักศึกษาฟังไม่ทัน มีความเป็นกันเองกับนักศึกษามากเกินไป มีภาระงานสอนมากทำให้เวลาว่างในการให้คำปรึกษานอกเวลาเรียนน้อย สอนตรงเวลาเกินไปทำให้นักศึกษามาเรียนไม่ทัน ปัญหาด้านนักศึกษา ได้แก่ ขาดทักษะการใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆ ขาดความมั่นใจและไม่กล้าแสดงออก สำหรับแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดหาอุปกรณ์ทดลองให้เพียงพอ ห้องปฏิบัติควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนนักศึกษา จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ มีรูปแบบการนำเสนองานที่หลากหลาย จัดกิจกรรมเสริมเพื่อการถามตอบในประเด็นที่ไม่เข้าใจ เพิ่มเวลาในภาคปฏิบัติ นักศึกษาต้องเตรียมความพร้อมก่อนการลงมือปฏิบัติ มีส่วนร่วมในการทดลอง เข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา กระตือรือร้นในการเรียนให้มากขึ้น จากผลการศึกษษครั้งนี้สรุปได้ว่า การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ควรปรับจำนวนนักศึกษาต่อหมู่เรียนให้น้อยลงเพื่อให้มีความเหมาะสมต่อห้องปฏิบติการและอุปกรณ์ทดลอง จะให้มีเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติการ และควรจัดทำสื่อการสอนด้วยอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สามารถเข้าไปศึกษาได้ทางอินเตอร์เน็ต en_US
dc.description.sponsorship Buriram Rajabhat University en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject พัฒนาการเรียนการสอน en_US
dc.title สภาะปัญหาและแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ (4063206) en_US
dc.title.alternative Problems and development guidelines of water analysis instruction (4063206) en_US
dc.type Research en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics