ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวทางการพัฒนาโจทย์วิจัยที่มาจากความต้องการของชุมชน บ้านเสม็ด ตำาบลหนองเต็ง อำาเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย

Show simple item record

dc.contributor.author อุทิศ, ทาหอม
dc.contributor.author พิชิต, วันดี
dc.contributor.author สำราญ, ธุระตา
dc.date.accessioned 2017-09-18T02:35:50Z
dc.date.available 2017-09-18T02:35:50Z
dc.date.issued 2015-01
dc.identifier.citation หน้า 107-120 en_US
dc.identifier.issn 1686-0101
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2102
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาโจทย์วิจัยที่มาจากความต้องการของชุมชน บ้านเสม็ด ตำาบลหนองเต็ง อำาเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อ ศึกษาความต้องการในการแก้ไขปัญหาของชุมชนบ้านเสม็ดผ่านกระบวนการพัฒนา โจทย์วิจัยระหว่างนักวิชาการกับคนในชุมชน 2. เพื่อค้นหาเทคนิควิธีการให้ได้มาซึ่ง โจทย์วิจัยระหว่างนักวิชาการและคนในชุมชนบ้านเสม็ด ตำาบลหนองเต็ง อำาเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ และ 3. เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยให้เป็นข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมกับชุมชน บ้านเสม็ด อำาเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการศึกษา พบว่า การจัดเวทีพัฒนาโจทย์วิจัยครั้งที่ 1 “ชวนคิด ชวนคุย” ค้นหาประเด็นวิจัย ทีมวิจัยใช้เครื่องมือการสนทนาพูดคุย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย ตั้งคำาถามว่า สิ่งดีๆ ที่มีอยู่ในชุมชน โดยเขียนการแผนที่ความคิด (Mind Map) เป็นการ วาดแผนผังเชื่อมโยงความคิด และมีการแยกย่อยของแต่ละสถานการณ์ปัญหา เพื่อ ทำาให้คนในชุมชนมองเห็นการเชื่อมโยงของแต่ละประเด็น พบว่า ภายในชุมชนบ้าน เสม็ดมีกลุ่มอาชีพต่างๆ หลากหลาย หลังฤดูกาลทำานา ได้แก่ กลุ่มทำากระถางต้นไม้ กลุ่มทำาปุ๋ย กลุ่มทำาเกษตร กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มเลี้ยงกบ และเพาะปลูกพืชผักสวนครัว เมื่อประชาชนปลูกผักมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตล้นตลาด และประสบปัญหาวัชพืช ทำาลายผลผลิตทางการเกษตร ในที่สุดประชาชนจำานวนมากตัดสินใจเลิกทำา เนื่องจาก ขาดความรู้ในการจัดการเรื่องผลผลิตและการกำาจัดวัชพืชการพัฒนาโจทย์วิจัยครั้งที่ 2 “คุยซำ้า ยำ้าคิด พิชิตโจทย์วิจัย” ทีมวิจัยใช้วิธีการตั้งประเด็นคำาถาม ค้นหาทุนเดิมและศักยภาพของชุมชน เป็นการ ทบทวน หรือ ตรวจสอบข้อมูลเดิมที่ได้พูดคุยกันใน การพัฒนาโจทย์ครั้งแรก พบว่า ชุมชนบ้านเสม็ดมี ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมอย่างมาก ประชาชนบ้านเสม็ดก็เข้าไปใช้ ประโยชน์จากพื้นที่ป่าริมแม่นำ้าชี ได้แก่ หาฟืน เก็บ เห็ด ขุดมัน หาสัตว์ป่า แต่ในปัจจุบันสภาพแวดล้อม ป่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด มี ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าริมแม่นำ้าชีมากขึ้นเวทีการพัฒนาโจทย์วิจัยครั้งที่ 3 “ทบทวน โจทย์ ค้นหาประโยชน์ร่วมของชุมชน” เป็นการตรวจ สอบข้อมูลที่ได้จากเวทีครั้งที่ 1 และเวทีครั้งที่ 2 เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างความร่วมมือ และได้ ชื่อโจทย์วิจัยที่มาจากความต้องของชุมชน การ พัฒนาโจทย์วิจัยครั้งที่ 3 ใช้เครื่องมือที่จะช่วยให้งาน ข้อมูลเกี่ยวกับการบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมได้ชัดเจน คือ การทำาแผนที่ดินเดินดิน และ แผนที่ทรัพยากรรอบหมู่บ้าน เพื่อทำาการวิเคราะห์ ข้อมูลทางกายภาพ (Physical Space) ให้เห็นสภาพ การณ์เปลี่ยนแปลงในภาพรวม จนได้โจทย์วิจัยร่วม กันว่า “กระบวนการเสริมสร้างชุมชนจัดการตนเอง บนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ ชุมชน” เพราะที่ผ่านมาชุมชนยังไม่สามารถจัดการ คน องค์กร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอาชีพของชุมชนได้ จำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ค้นหากลไกในการขับเคลื่อนการทำางาน เน้นการมี ส่วนร่วมของชุมชน en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนาโจทย์วิจัย / ความต้องการของชุมชน en_US
dc.title แนวทางการพัฒนาโจทย์วิจัยที่มาจากความต้องการของชุมชน บ้านเสม็ด ตำาบลหนองเต็ง อำาเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย en_US
dc.title.alternative Guidelines for developing research problem derived from Community’s needs of Samet Village, Nong Teng Sub-district, Krasang District, Buriram Provinc en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor - en_US
dc.journal.namejournal รมยสาร


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics