ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การจัดการความขัดแย้งของฝ่ายบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Show simple item record

dc.contributor.advisor บรรพต วงศ์ทองเจริญ en_US
dc.contributor.advisor ศรีเพ็ญ พลเดช en_US
dc.contributor.author มานพ, ทองคำ
dc.date.accessioned 2017-09-16T06:32:59Z
dc.date.available 2017-09-16T06:32:59Z
dc.date.issued 255
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1890
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งของฝ่ายบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเที่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง ของฝ่ายบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำแนกตามประสบการณ์ในตำแหน่งและขนาดของโรงเรียนตามแนวคิดของ โทมัสและคิลแมนน์ ในวิธีจัดการกับความขัดแย้ง 5 วิธี ได้แก่ 1) การเอาชนะ 2) การร่วมมอ 3) การประนิประนอม 4) การหลีกเลี่ยง 5) การยอมให้ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นฝ่ายบริหาร โรงเรียนจำนวน 278 คน ได้มาจากตารางกำหนดขนาดของ เครจซี่และมอร์แกน หลังจากนั้นใช้วิธี สุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างมีสัดส่วน ตามขนาดของโรงเรียน เป็นฐานเทียบสัดส่วนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง โดย แบ่งฝ่ายบริหารโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามตำแหน่งเป็นกลุ่มย่อยตามขนาดของโรงเรียน คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยลักษณะแบ่งชั้น ทำการสุ่มฝ่ายบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยสุ่มให้กระจายตามขนาดของโรงเรียน และตำแหน่งทางการ ตามสัดส่วน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลาก เครื่อง มือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม มี 3 คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า ระดับ และแบบปลายเปิด มีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ .851สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบสมมุติฐานใช้ค่า Independent Sample t - test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า 1. ฝ่ายบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งโดยรวมอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือวิธีบริหารความขัดแย้งแบบร่วมมือ รองลงมาคือวิธีบริหารความขัดแย้งแบบ ประนีประนอม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือวิธีบริหารความขัดแย้งแบบเอาชนะ 2. ฝ่ายบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ทีมี ประสบการณ์ในตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยว กับการจัดการความขัดแย้งโดยรวมและ รายด้านไม่แตกต่าง กัน 3. ฝ่ายบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 ที่มีปฎิบัติ หน้าที่ในโรงเรียนกี่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งโดยรวมและราย ด้านแตกต่างกันโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ตามวิธีการของเชฟเฟ่ พบว่ารงเรียนขนาดเล็กมีความเห็นต่อการจัดการความขัดแย้งแตกต่างจากโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การจัดการความขัดแย้งของฝ่ายบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 en_US
dc.title.alternative CONFLICT MANAGEMENT OF ADMINISTRATORS AT SCHOOL UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics