ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor โกวิท เชื่อมกลาง en_US
dc.contributor.advisor ละออง ภู่เงิน en_US
dc.contributor.advisor เกษม โพธิธา en_US
dc.contributor.author บุญลือ, ไชยชิต
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:42:48Z
dc.date.available 2017-09-16T04:42:48Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1714
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารโรงเรียน ที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารโรงเรียน ที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน โดยจำแนกตามประสบการณ์การอบรมวิจัยในชั้นเรียน 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารโรงเรียน ที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโดยจำแนกตามขนาดโรงเรียน และ 5) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารโรงเรียน ที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน โดยจำแนกตามประสบการณ์ในการบริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งระดับชั้นอย่างมีสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนจำนวน 370 คน และผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test แบบ One sample t-test และแบบ Independent sample t-test ใช้ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way analysis of variance) แล้วเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheff' s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีบทบาทต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมทุกด้านและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษามีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมทุกด้านและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสบการณ์การอบรมวิจยในชั้นเรียนและผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์การอบรมวิจัยในชั้นเรียน มีบทบาทต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมทุกด้านแตกต่างกันกับผู้บริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการบริหารต่างกันมีบทบาทต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมทุกด้านและรายด้านไม่แตกต่างกัน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The roles of primary school administrators in promoting action research in primary schools under the Office of Buriram Provincial Primary Education en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics