ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การบริหารงานวิชาการสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนที่นักเรียนพูดภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรพิมล พงศ์สุวรรณ en_US
dc.contributor.advisor ประกิจ จันตะเคียน en_US
dc.contributor.author จิรศักดิ์, พวงไพบูลย์
dc.date.accessioned 2017-09-16T04:12:35Z
dc.date.available 2017-09-16T04:12:35Z
dc.date.issued 255
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1614
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนที่นักเรียนพูดภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย ตามลักษณะเพศ วุฒิทางการศึกษา และประสบการในการเป็นผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 148 คน ครูผู้สอน จำนวน 291 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่และมอร์แกน ( Krejcie and Morgan. 1970 : 806 อ้างใน ธีรวุฒิ เอกะกุล. 2543 ) จากนั้นดำเนินการสุมตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมี 3 ตอน คือ แบบตรวจสอบรายการ (Checklists) และ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test แบบ Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA ) และการวิเคราะห์เนื้อหา ( Content Analysis ) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนต่อการบริหารงานวิชาการสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนที่นักเรียนพุดภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาหลายด้าน พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนเห็นด้วยในระดับมากทุกด้าน ส่วนครูผู้สอนเห็นด้วยในระดับมากเกือบทุกด้าน ยกเว้นการบริหารการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนเห็นตรงกันว่า ด้านการบริหารหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านอื่นๆ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนเพศชายและหญิงด้านบริหารจัดการเรียนรู้ ด้านการบริหารประเมินผลการจัดการเรียนรู้ และด้านการบริหารการนิเทศงานวิชาการในภาพรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการบริหารหลักสูตรมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ .05 3. มีการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ที่มีวุฒิทางการศึกษาต่างกัน พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 4. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน พบว่า ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ ด้านการบริหารการประเมินผลการเรียนรุ้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านการบริหารการนิเทศงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 5. ผลการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง พบว่า ไม่มีการจัดกิจกรรมเป็นกรณีพิเศษให้กับเด็กที่พุดภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย แต่เพิ่มเวลาเรียนให้มากขึ้น มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาษาไทยั่วไป และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กไม่มีการจัดกระบวนการเรียนรู้เป็นการเฉพาะให้แก่นักเรียนที่พุดภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย แต่มีเพียงการจัดกิกรรมการสอนปกติ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะครูในระดับประถมศึกษาขาดความรู้เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ทำให้ผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับพอใช้ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การบริหารงานวิชาการสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนที่นักเรียนพูดภาษาถิ่นมากกว่าภาษาไทย en_US
dc.title.alternative THE ACADEMIC ADMINISTRATION RELATING TO THAI LEARNING STRAND IN SCHOOLS WITH STUDENTS SPEAKING NATIVE LANGUAGES RATHER THAN THAI en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics