ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การสำรวจความหลากหลายพันธุ์ข้าวแหล่งปลูกข้าว และการใช้ประโยชน์ของข้าว ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

Show simple item record

dc.contributor.author วรรณชัย, พรหมเกิด
dc.contributor.author จารีย์, พรหมเกิด
dc.contributor.author โสภี, แก้วชะฏา
dc.contributor.author อุษา, นุ้ยจันทร์
dc.contributor.author วิเชียร, ทองสิน
dc.date.accessioned 2017-09-15T09:02:09Z
dc.date.available 2017-09-15T09:02:09Z
dc.date.issued 2016-11-24
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1487
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากหลายพันธุ์ข้าว แหล่งปลูกข้าว และการนำข้าวพื้นเมืองพันธุ์เด่นๆ มาใช้ประโยชน์ ดำเนินการวิจัยโดยการสำรวจความหลากหลายและรวบรวมพันธุ์ แหล่งปลูกข้าว และการนำข้าวมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน ทำการศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชที่แบ่งตามลักษณะภูมินิเวศ 3 ภูมินิเวศ ผลการวิจัยพบพันธุ์ข้าวพื้นเมืองตามภูมินิเวศ ดังนี้ 1) บริเวณเทือกเขาตอนกลาง พบทั้งหมด 7 พันธุ์ ได้แก่ บัวผุด ไทร ขันเงิน เล็บนก ข้าวเหนียวดำ และขาวทุ่งสง 2) บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันออก (บริเวณลุ่มน้ำปากพนัง) พบทั้งหมด 25 พันธุ์ ได้แก่ ไข่มดริ้น เล็บนกแก้ว ช่อจำปา หอม ลูกลาย เล็บนก เหลือง กาบดำ จำปาเหลือง หอมแดง ดอกไม้แดง ดอกไม้ขาว ท้ายดำหนัก ขันเงิน หอมจันทร์ จงกลช่อ ดำ บัวซ้อน ยุมหนุน ไอ้โข่ง ยาโค ขาวทุ่งสง ข้าวขาว ช่อจังหวัด และช่อนางงามโดยอำเภอปากพนังพบพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมากที่สุด 3) บริเวณที่ราบด้านตะวันตก พบทั้งหมด 24 พันธุ์ ได้แก่ กายเหรียง เหนียวดำ เหนียวขาว ช่อไม้ไผ่ ฝอยทอง ดอกพะยอม เล็บนกคอดำ นางครวญ เล็บมือนาง หอมบอน ช่อมุด เล็บนกไร่ สังข์หยดไร่ มะลิไร่ เข็มทองไร่ ดอกข่า เมล็ดในฝ้าย ภูเขาทอง เหนียวดำเปลือกขาว เหนียวกล้วย เหนียวดำดาษ เหนียวน้ำผึ้ง และเหนียวดำคอเขียว ส่วนมากจะเป็นข้าวไร่ โดยอำเภอทุ่งสง พบว่ามีพันธุ์ข้าวไร่มากที่สุดโดยพบว่ามีการปลูกแซมในสวนยางขนาดเล็ก อายุระหว่าง 1-3 ปี สำหรับการนำมาใช้ประโยชน์พบว่าเกษตรกรจะนำมาใช้เป็นวัสดุในการเกษตร เช่น ใช้ฟางข้าว แกลบ และรำ และนำมาใช้ทำอาหารตามประเพณี ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ในเทศกาลเดือนสิบ ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช จากการวิจัยในครั้งนี้ได้มีการพัฒนาพื้นที่ตัวอย่างแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากข้าวอย่างยั่งยืนสามารถหนุนเสริมให้เกิดการพัฒนาเกษตรกรและส่งเสริมภูมิปัญญาและประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวกับข้าว ได้แก่ 1) ประเพณีการทำขวัญข้าว 2)การเก็บรักษาพันธุ์ข้าวและ3) การใช้ประโยชน์จากข้าวพื้นเมืองด้านอาหาร en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ความหลากหลาย en_US
dc.subject พันธุ์ข้างพื้นเมือง en_US
dc.subject การใช้ประโยชน์ en_US
dc.subject จังหวัดนครราชสีมา en_US
dc.title การสำรวจความหลากหลายพันธุ์ข้าวแหล่งปลูกข้าว และการใช้ประโยชน์ของข้าว ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช en_US
dc.title.alternative Surveying of Biodiversity plantation and Uses of Rice In Nakhon Si Thammarat province en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics