ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สภาพการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษา ปริญญาตรี มหาวิทยาลยัราชภัฏเลย

Show simple item record

dc.contributor.author อำนวย, อรรจนาทร
dc.contributor.author นัยนา, อรรจนาทร
dc.contributor.author อภิฤดี, จันทะเดช
dc.contributor.author ปาริชาติ, แสงระชัฏ
dc.date.accessioned 2017-09-15T05:17:35Z
dc.date.available 2017-09-15T05:17:35Z
dc.date.issued 2016-11-24
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1402
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ และเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 – 4 ปีการศึกษา 2/2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และคณะวิทยาการจัดการ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 378 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ ทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สถิติทดสอบเอฟ (F-test) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheff’) ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านสภาพการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี นักศึกษาส่วนใหญ่สืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตทุกวันมากที่สุด คือ ช่วงเวลาเวลาปกติ (จันทร์ – ศุกร์) เวลา16.00 – 21.00 น. คิดเป็นร้อยละ 16.70 สถานที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ที่บ้าน/หอพัก มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 85.70 และนักศึกษาใช้อินเตอร์เน็ตผ่านสัญญาณอินเตอร์ไร้สาย (Wireless:Wifi) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 75.70 และนักศึกษาใช้อินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90.70 สารสนเทศที่สืบค้นเพื่อการศึกษาในรูปแบบอินเตอร์เน็ตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80.40 2) ด้านปัญหาการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา ในส่วนของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพบว่า นักศึกษามีปัญหาในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสืบค้นข้อมูลมากที่สุด ปัญหาในด้านจำนวนเครื่องมือที่เหมาะสมและอุปกรณ์ที่เหมาะสม พบว่า มีปัญหาในด้านความเหมาะสมของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการใช้งานกับเทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์ มากที่สุด และปัญหาในด้านการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบการเรียนการสอนมากที่สุด 3) ด้านความต้องการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความต้องการในด้านฐานข้อมูลมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านโทรคมนาคม 4) ผลการเปรียบเทียบระดับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำแนกตามเพศ คณะ ชั้นปี นักศึกษาที่เพศต่างกัน มีระดับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษา โดยรวมและรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject เทคโนโลยี en_US
dc.subject นวัตกรรมทางการศึกษา en_US
dc.subject เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา en_US
dc.title สภาพการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษา ปริญญาตรี มหาวิทยาลยัราชภัฏเลย en_US
dc.title.alternative The condition of using technology and innovation in education of undergraduates in Loei Rajabhat University. en_US
dc.title.alternative The condition of using technology and innovation in education of undergraduates in Loei Rajabhat University. en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics