ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

กระบวนการพัฒนาผู้ประกอบการในโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Show simple item record

dc.contributor.author ขวัญนภา, วงศ์ไพศาลสิริกุล
dc.date.accessioned 2017-09-15T02:49:21Z
dc.date.available 2017-09-15T02:49:21Z
dc.date.issued 2015-01
dc.identifier.citation หน้า 133-148 en_US
dc.identifier.issn 1686-0101
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1377
dc.description.abstract รายงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์กระบวนการ พัฒนาผู้ประกอบการในหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนล่าง เพื่อเปรียบเทียบแนวปฏิบัติที่ดีของศูนย์บริการกลยุทธ์และประเมินผล ของกรมวิสาหกิจกรรมาธิการยุโรปกับแนวปฏิบัติของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจของไทย เพื่อประเมินศักยภาพเชิงพาณิชย์ และ ความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่ผ่านการบ่ม เพาะจากหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในมหาวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ และผู้ประกอบ การที่เข้ารับการบ่มเพาะในหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจของมหาวิทยาลัยในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือตอนล่าง 8 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ จำานวน 8 คน ผู้ประกอบการ จำานวน 40 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการ วิเคราะห์เนื้อหา การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการมีคุณลักษณะที่ทำาให้ประสบความสำาเร็จ 21 คุณลักษณะ อยู่ในระดับ มาก ผู้ประกอบการมีระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับการให้บริการพื้นที่ ที่ปรึกษาและ การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา 12 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ประกอบ การมีระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับการให้คำาปรึกษา การฝึกอบรม และการถ่ายทอด ความรู้ 14 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการดำาเนินงานของ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 8 แห่งกับแนวปฏิบัติที่ดีของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจของ ศูนย์บริการกลยุทธ์และประเมินผลของกรมวิสาหกิจ กรรมาธิการยุโรป โดยการใช้แนวเทียบ พบว่า หน่วย บ่มเพาะวิสาหกิจของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก เฉียงเหนือทั้ง 8 แห่ง มีผลการดำาเนินการที่น่าพึง พอใจ โดยมีแนวปฏิบัติที่เท่าเทียมกับแนวปฏิบัติที่ ดีของศูนย์บริการกลยุทธ์และประเมินผลของกรม วิสาหกิจกรรมาธิการยุโรป 3) วิเคราะห์ศักยภาพ เชิงพาณิชย์ของผู้ประกอบการของหน่วยบ่มเพาะ วิสาหกิจ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เพิ่งสำาเร็จการ ศึกษา เป็นทายาทธุรกิจ ส่วนมากมีโครงการหรือ แนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจที่จะลงทุน แต่ไม่มีแผนธุรกิจ มีรูปแบบเป็นกิจการส่วนตัว เป็นบริษัทที่เริ่มตั้ง ใหม่ ที่มีพนักงานอยู่ประมาณ 1 -3 คน ใช้เวลาใน ช่วง 1 – 3 ปี สนใจในธุรกิจประเภทการผลิต ส่วน ใหญ่นำาเงินทุนส่วนตัวมาลงทุน สนใจใช้งานวิจัยหรือ นวัตกรรมที่พัฒนาแล้วเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้องการ ความช่วยเหลือด้านการเริ่มต้นธุรกิจและเข้าถึง แหล่งเงินทุน ต้องการเขียนแผนธุรกิจเป็น มีความรู้ ความเข้าใจในการดำาเนินกิจการเพิ่มขึ้น ต้นทุนลดลง มีการจัดการบริการองค์กรได้ดีขึ้น ขอวงเงินกู้ใหม่ ได้ มีความคาดหวังหลังเข้าโครงการก็เป็นไปตามที่ คาดหวังไว้ กิจการดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้ารับการบ่มเพาะ en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject กระบวนการบ่มเพาะ, ผู้ประกอบการ, ศักยภาพเชิงพาณิชย์ของผู้ประกอบการที่ผ่าน การบ่มเพาะ, แนวปฏิบัติที่ดีของหน่วยบ่มเพาะ วิสาหกิจในมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง en_US
dc.title กระบวนการพัฒนาผู้ประกอบการในโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง en_US
dc.title.alternative The process of Entrepreneur Development in the University Business Incubator Project in the Lower Northeast en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor - en_US
dc.journal.namejournal รมยสาร


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics