ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การรับรู้พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาชาวกัมพูชา

Show simple item record

dc.contributor.author สารมณ์, มกร์
dc.date.accessioned 2017-09-06T03:58:56Z
dc.date.available 2017-09-06T03:58:56Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1085
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และเสนอรูปแบบพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้อำนวยการและการรับรู้ของครูผู้สอนต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาชาวอัมพูชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาชาวกัมพูชา จำนวน 191 คน และครูผู้สอน จำนวน 386 คน ซึ่งได้มาโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแต่ละจังหวัด และการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบประเมินการปฏิบัติภาวะผู้นำ Leadership Practices Inventory : LPI ซึ่งมีสองแบบ คือ แบบประเมินตัวเองและแบบประเมินจากผู้สังเกตูการณ์ แบบประเมินทั้งสองแบบนี้ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงและใช้เทคนิคการแปลย้อนกลับเพื่อลดความคลุมเครือและข้อผิดพลาด แบบมาตราวัดภาษาเขมรใช้ในการทดสอบภาคสนาม หลังจากนั้นแบบประเมินการปฏิบัติภาวะผู้นำกัมพูชา Cambodian Leadership Practices Inventory : CLPI ได้สร้างขึ้นโดยนำผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบของแบบประเมินการปฏิบัติภาวะผู้นำ ข้อมูลได้เก็บรวบรวมโดยใช้แบบประเมินตัวเอง และแบบประเมินจากผู้สังเกตุการณ์ เพื่อทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณราและสถิติอ้างอิงโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ผู้อำนวยการมีพฤติกรรมภาวะผูันำ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) การทำตัวเป็นตัวอย่างเพื่อให้กำลังใจต่อเจ้าหน้าที่ 2) การแปลงวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ 3) การสร้างการมีส่วนร่วมจากเจ้าหน้าที่อย่างยั่งยืน และ 4) การผูกน้ำใจเจ้าหน้าที่กับการดำเนินการร่วม ครูผู้สอนมีการรับรู้ต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้อำนวยการ จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การทำตัวเป็นตัวอย่างเพื่อความเข้มแข็งองค์การ 2) การผูกน้ำใจเจ้าหน้าที่กับการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ของโรงเรียน และ 3) การแปลงวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง 2. ผลของค่าทีและค่าความแปรปรวนทางเดียวที่มีค่าสถิติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่านั้นได้นำมาอธิบายสรุปในงานวิจัยนี้ เมื่อจำแนกตามอายุในด้านการแปลงวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ และประสบการณ์ทำงานในด้านการสร้างการมีส่วนร่วมจากเจ้าหน้าที่อย่างยั่งยืนของผู้อำนวยการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) เมื่อจำแนกตามอายุในด้านการแปลงวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง และระดับการศึุกษาทั้งสามด้านของครูผู้สอน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แคนนอนนิคัล พบว่า ฐานพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้อำนวยการโรงเรียน ทั้ง 4 ด้าน และการสังเกตของครูผู้สอนต่อพฤติกรรมภาวะผู้น้ำของผู้อำนวยการทั้ง 3 ด้าน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .001) 4. ผลการทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบการวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาชาวกัมพูชา พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า ไค-แสวร์ เท่ากับ 215.7 ที่องคาอิสระ (df) gmjkdy[ 386 8jk ย-อฟสีำ gmjkdy[ 1.000 fy=ou ฌโณ gmjkdy[ .934 ดัชนี AGFI เท่ากับ .920 และค่า RMSEA เท่ากับ .000 ส่วนผลการทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบการวิเคราะห์องค์ประกอบการรับรู้ของครูผู้สอนต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาชาวกัมพูชา ปรากฎว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า ไค-สแควร์ เท่ากับ 358.1 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 371 ค่า p-value เท่ากับ .675 ดัชนี GFI เท่ากับ .944 ดัชนี AGFI เท่ากับ .930 และค่า RMSEA เท่ากับ .000 งานวิจัยนี้ ได้เสนอแะสำหรับผู้กำหนดนโยบายและนักศึกษาที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำในโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศกัมพูชา การศึกษาครั้งนี้ อาจเป็นประโยชน์สำหรับกระทรวงอบรม เยาวชนและกีฬา และคู่ภาคีการศึกษานานาชาติ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การรับรู้พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาชาวกัมพูชา en_US
dc.title.alternative PERCAPTION ON CAMBODIAN HIGH SCHOOL DIRECTER'S LEADERSHIP BEHAVIORS en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics