ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.author พินิจ, เมฆะสุวรรณ์
dc.date.accessioned 2017-09-06T03:29:25Z
dc.date.available 2017-09-06T03:29:25Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1049
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อแรงจูงจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานอยู่ในกรอบความคิด 6 ด้าน คือ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ด้านกายภาพ และด้านความสำเร็จในชีวิต ประชากรได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 2466 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน แล้วสุ่มตามระดับชั้นอย่างมีสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ทดสอบสมมติฐานใช้ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หากพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ กำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยภาพรวมทุกด้าน พบว่า มีแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบและด้านความสำเร็จในชีวิตมีแรงจูงใจระดับมาก ส่วนด้านการยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานและด้านกายภาพมีแรงจูงใจในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานจำแนกตามวุฒิการศึกษาโดยภาพรวมและในแต่ละด้านมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่งกัน 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานโดยภาพรวมมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ส่วนด้านอื่นๆมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 4. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานจำแนกตามขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติ โดยภาพรวมและในแต่ละด้านมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 5. ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมากที่สุด ได้แก่ ส่งเสริม สนับสนุนได้เลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้นและได้รับเงินวิทยฐานะทันทีที่ได้รับอนุมัติให้เลื่อนวิทยฐานะ รองลงมา คือ ผู้บังคับบัญชาควรปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา โดยใช้ความสัมพันธ์ส่วนบุคล และส่งเสริมให้ครูได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการบริหารงานทุกขั้นตอนตามลำดับ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 en_US
dc.title.alternative FACTORS AFFECTING THE INTERNAL SUPERVISTION OF SCHOOLS UNDER BURIRAM EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE IV en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.level ปริญญาโท


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics